วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2556

พรปีใหม่ ๒๕๕๗

                                      











        
          น้อมประนม  ก้มลงกราบ   สิ่งศักดิ์สิทธิ์           เนรมิต  สร้างสรร  วันสดใส
          ศุภวาระ  ดิถี   ปีใหม่ไทย                           บันดาลให้  เป็นสุข  ทุกกาลกัลป์
          ครูวีระ  จงชนะ  สรรพทุกข์                         สรรพสุข   บังเกิดให้  ใจสุขสันต์
          จิระพร   ผองพร  อภินันท์                          รุ่งทิวา   ยาวนาน  เป็นสุขดี
          นาฏยา   จงหายเคล็ด  เข็ดเอวองค์              สายฝนจง   หายช้ำกาย  ทุกข์หน่ายหนี
          ครูปรีดา  ขอรวยทรัพย์  นับทวี                    พัชนีย์   จงอย่าได้   ภัยมาพาล
          ครูละออง  ผ่องสุข   ทุกข์สลาย                   ครูพานิชย์  ขอให้    ชีวิตหวาน
          ครูฉัตรชัย   ขอให้   ผ่านผลงาน                 ศิริพร   โชคบันดาล  สุขทันตา
          ครูสุดใจ   ขอให้   ใจสุขขี                         เฉลิมศรี   มีอำนาจ  วาสนา
          ครูพูนสุข   สุขมากมาย  จงได้มา                 ครูไพศาล  ขอจงอย่า   ชีวาตรม
          ครูสายหยุด   หยุดโชคร้าย  ได้ลาภยศ         อมรรัตน์   ทุกข์จงหมด   เป็นสุขสม
          ครูสายพิน  ไร้โรคา  หนาขำคม                  วรรณกมล  สุขรื่นรมย์   สมอนงค์
          ครูเรวัติ   สุขสวัสดิ์  วิวัฒน์โชค                   ปรุงไร้โรค  สมหวัง  ดั่งประสงค์
           ความเจริญ  มาแนบชิด  สถิตย์พงศ์            ลาภผลจง  พัฒนา  ก้าวหน้าเทอญ

"ขอให้เพื่อนพ้อง  น้องพี่ รวมถึงน้อง ๆฝึกสอน ทุกผู้ทุกนาม จงมีความสุข ความเจริญ ตลอดปี ๒๕๕๗ และตลอดไปชั่วกาลนาน"

                                                                    ด้วยความปรารถนาดี
                                                                  ครูการุณย์  สุวรรณรักษา


วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เรียนซ้ำอย่างมีคุณภาพ ดีกว่าปล่อยผ่านแต่อ่านเขียนไม่ได้



.....
ปลัด ศธ.ชี้มีหลายวิธีพัฒนาคุณภาพ เด็กเรียนเก่ง-อ่อนต่างกัน ครูต้องรู้และสอนเสริมให้ตรงจุดไม่ปล่อยจนแก้ไขยาก
     จาก กรณีที่ รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา 2557 จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา

จาก กรณี รมว.ศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายจะฟื้นการจัดทดสอบวัดผลกลาง ในโรงเรียนสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั่วประเทศ โดยใช้ข้อสอบชุดเดียวกันในการสอบปลายภาค รวมทั้งกำลังปรับปรุงยกร่างระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในปีการศึกษา2557 จะมีผลให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับประถมศึกษา 
     เมื่อวันที่ 10 ต.ค.56 นายจาตุรนต์ ฉายแสง รมว.ศึกษาธิการ กล่าว ว่า ขณะนี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมาก เช่น เด็กที่อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ผ่านขึ้นมาเรื่อยๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้นจึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
      "เวลานี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้ซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือคนที่เป็นห่วงเหล่านี้ ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้เรื่อง จบ ม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่ คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้"
      นายจาตุรนต์ กล่าวและว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่นด้วย อาทิ ให้มีการตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อยๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย
     ส่วนกรณีที่ สพฐ. จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบเกรด เหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป 
     ด้านนางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. ใน ฐานะกำกับดูแลสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน (สช.) กล่าวว่า เห็นด้วยกับการทบทวนการตกซ้ำชั้น เพราะเรื่องนี้มีการพูดคุยกันมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว แต่ทั้งนี้ การเรียนในระดับชั้นประถมศึกษา (ป.1-6) เป็นการเรียนแบบรายวิชา หากตกวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วให้เรียนซ้ำชั้นใหม่ เรื่องนี้ต้องมาคิดกันหลายขั้นตอน เช่นต้องดูว่าเด็กอ่อนทุกวิชาหรือไม่ คะแนนเฉลี่ยทั้ง 8 กลุ่มสาระเป็นอย่างไร หากไม่ตกทุกวิชาแล้วให้มาเรียนซ้ำชั้นใหม่จะเหมาะสมหรือไม่ เช่นเด็กบางคนเก่งเกือบทุกวิชา แต่อาจไม่ชอบวิชาใดวิชาหนึ่งแล้วทำให้คะแนนเฉลี่ยตก จะให้มาซ้ำชั้นอีกมันก็ยังไงอยู่ 
     "การเรียนการสอนที่ทำให้เด็กมีคุณภาพนั้นมีหลายวิธี โรงเรียนต้องมาดูว่าเด็กอ่อนวิชาไหน ก็ต้องติวให้เขา แต่หากตกหลายวิชาก็ต้องให้เรียนซ้ำชั้น เพราะครูต้องรู้ตั้งแต่เริ่มเรียนแล้วว่าเด็กเก่งอ่อนวิชาไหน ไม่ใช่มารู้ตอนปลายเทอม อย่างไรก็ตาม เรื่องดังกล่าวก็ยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะ สพฐ ต้องไปแก้ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผลประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐาน และนำไปประชาพิจารณ์ด้วย" ปลัด ศธ.กล่าว

ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ



"จาตุรนต์" ชี้เเค่จุดประเด็น "ตกซ้ำชั้น" ย้ำยังไม่กำหนดนโยบาย


รม ว.ศึกษา ย้ำยังไม่กำหนดนโยบายชัดให้ “ตกซ้ำชั้น” แต่จุดประเด็นให้ตื่นตัว ถามกลับคนห่วงว่าเด็กจะเสียอนาคตเพราะซ้ำชั้นทำใจได้อย่างไรถ้าเด็กจะจบไป แบบไม่รู้เรื่อง ชี้ต้องฟังความเห็นรอบด้านและมีหลายวิธีที่จะทำได้ เช่น ซ้ำเป็นรายวิชา ด้าน ปลัด ศธ.การให้ตกหรือไม่ตกซ้ำชั้นไม่สำคัญเท่าวิธีการที่จะแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก


        นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวถึงกรณีที่มีนโยบายให้ทบทวนเรื่องการตกซ้ำชั้นใหม่ โดยขณะนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ยกร่าง ระเบียบ ศธ.ว่าด้วยการวัดผล ประเมินผลการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ มีเนื้อหาสาระที่จะให้มีการตกซ้ำชั้นในระดับชั้นประถมศึกษาหากไม่ผ่านวิชาใด วิชาหนึ่งก็จะต้องตกซ้ำชั้นเพราะเป็นการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ส่วนระดับมัธยมศึกษานั้นหากไม่ผ่านในรายวิชาใดจะต้องมาลงเรียนรายวิชานั้น ใหม่ในภาคเรียนถัดไป หรือเมื่อโรงเรียนเปิดให้โดยไม่ต้องซ้ำชั้น ว่า ขณะ นี้ตนยังไม่ได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน แต่ได้ตั้งประเด็นว่าการที่ไม่ให้เด็กตกซ้ำชั้นหรือซ้ำวิชา เป็นสาเหตุให้มีการปล่อยเด็กที่เรียนอ่อนมากผ่านขึ้นมาเรื่อย ๆ จนมีจำนวนไม่น้อยที่เรียนจนจบมัธยมแล้วยังอ่านหนังสือไม่ได้เลย ดังนั้นควรจะต้องมีการแก้ไข ทั้งนี้ เรื่องดังกล่าวถือว่ามีความซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะการบอกว่าจะให้เด็กตกซ้ำชั้น ถ้าไม่มีมาตรการ ไม่มีระบบรองรับก็จะไม่เกิดผลอะไร เพราะครูกับโรงเรียนก็จะไม่ยอมให้เด็กสอบตกอยู่ดี เพราะเวลานี้ครูวัดผลกันเอง และอยู่ภายใต้ความกดดันของผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา และผู้ปกครอง ที่ไม่อยากให้เด็กตกซ้ำชั้น ถึงแม้เด็กจะเรียนไม่ได้ หรือเรียนไม่รู้เรื่องเลยก็อยากให้ผ่านไปเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น จึงโยงมากับเรื่องการทดสอบวัดผลกลางที่ได้มาตรฐาน โดยต้องไปคิดกันว่าควรจะต้องมีการสอบวัดผลกลางระดับชั้นใดบ้าง มีความเข้มข้นมากน้อยแค่ไหน โดยหลายประเทศก็ใช้วัดผลกลางเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน แต่จะต้องทำระบบวัดผลกลางให้ได้มาตรฐานด้วย
   
        “เวลา นี้หลายคนเป็นห่วงว่าถ้าให้จบซ้ำชั้นจะทำให้เด็กเสียอนาคต เสียเวลา และทำใจไม่ได้ แต่ปัญหาคือ คนที่เป็นห่วงเหล่านี้ทำไมจึงทำใจได้ที่ปล่อยให้เด็กเรียนกันแบบไม่รู้ เรื่อง จบม.6 แล้วยังอ่านหนังสือไม่รู้เรื่อง ทำไมจึงจะปล่อยให้เด็กเสียอนาคตแบบนี้ การซ่อมเสริมที่ทำอย่างทุกวันนี้ก็ไม่มีประสิทธิภาพ และไม่เห็นผลจริง เช่น ให้นักเรียนมาทำความสะอาดห้อง แล้วผ่าน เด็กยังอ่านไม่ออก ก็ยังอ่านไม่ออกอยู่ดี ดังนั้นจึงต้องพูดทั้งระบบ โดยโจทย์ใหญ่คือจะปล่อยให้เด็กเรียนจบมาโดยอ่านไม่ออก จบมาโดยไม่มีคุณภาพไม่ได้”นายจาตุรนต์ กล่าว
   
        รม ว.ศึกษาธิการ กล่าวต่อว่า คำว่าตกซ้ำชั้นสมัยนี้ อาจจะมีทางออกอื่น ๆ เช่น ตกซ้ำชั้นบางวิชาแต่ปัญหาคือถ้าตกซ้ำหลายวิชา จะทำอย่างไร ซึ่งก็อาจจะหนีไม่พ้นการตกซ้ำชั้นเหมือนกัน เรื่องใหญ่คือทำอย่างไรให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพ ไม่ใช่เด็กเรียนไม่ได้ก็ให้ผ่านไปเรื่อย ๆ ส่วนจะเป็นแนวทางไหนนั้นก็จะต้องมีการระดมความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องด้วย ส่วนกรณีที่ สพฐ.จะไปพิจารณาเรื่องการกลับไปใช้เปอร์เซ็นต์ในผลการเรียนแทนการใช้ระบบ เกรดเหมือนเดิมนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้มีการหารือกัน คงต้องนำไปหารือกับนักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนและการวัดผลก่อน ดังนั้นเวลานี้จึงยังเป็นเรื่องที่ยังไม่ลงตัว และยังไม่มีข้อสรุป
   
        ด้าน นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า การให้เด็กตกซ้ำชั้นจะต้องมองให้รอบด้าน เพราะปัจจุบันการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือคุณภาพการเรียนการสอนมีหลายแนวทาง โดยในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ก็จะต้องไปดูรายละเอียด และหาแนวทางการแก้ปัญหาคุณภาพการศึกษาที่เหมาะสม ซึ่งการให้เด็กคนหนึ่งตกซ้ำชั้น ต้องดูด้วยว่าเด็กคนนั้นเรียนอ่อนทุกวิชาหรือไม่ ยกตัวอย่าง เด็กคนหนึ่งเรียนดีทุกวิชาแต่อ่อนในวิชาภาษาอังกฤษและสอบตกวิชานั้น แต่จะต้องตกซ้ำชั้น แบบนี้จะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจจะมีแนวทางให้ตกซ้ำเป็นรายวิชา หรืออาจะพิจารณาที่เกรดเฉลี่ย หากไม่ได้มาตรฐานที่กำหนด ก็อาจจะต้องให้ตกซ้ำชั้น เป็นต้น
   
        “ปัจจุบันเรา จัดการศึกษาโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญก็ควรจะต้องคิดหาวิธีการเพื่อมาพัฒนา ช่วยเหลือเด็ก โดยโรงเรียนและครูจะมีบทบาทสำคัญที่จะต้องสังเกตและรู้ว่าเด็กคนใดมีปัญหา เรียนอ่อน หรือไม่ทันเพื่อน เพื่อจะได้เร่งแก้ไขปัญหา เพราะปัญหาการตกหรือไม่ตกซ้ำชั้น ไม่ใช่เรื่องสำคัญเท่ากับเรามีวิธีการใดที่จะช่วยแก้ไขจุดอ่อนของเด็ก”นาง สุทธศรี กล่าว


ทำเนียบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ คลิกที่นี่
ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ครูไทยและเว็บไซต์หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการ

วันพฤหัสบดีที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2556

มาสร้างข้อสอบออนไลน์กันเถอะครับคุณครู

สมัครสมาชิกฟรี และสร้างแบบทดสอบออนไลน์กันแบบฟรีๆครับ เข้าเว็บไซต์นี้ครับ  http://www.examonline.in.th/

     ผมได้ทดลองสร้างแล้วครับ ใช้ง่าย สะดวก รวดเร็ว ใคร ๆ ก็สร้างได้ครับผม มาสร้างแบบทดสอบออนไลน์กันเถอะครับ สนองนโยบายของรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ คนใหม่นายจาตุรนต์  ฉายแสง ในหัวข้อที่ 3 

 

     ถึงเวลาแล้วครับ มาสร้างบทเรียนออนไลน์ และข้อสอบออนไลน์กันเถอะนะครับ ยิ่งครูท่านใดที่โรงเรียนได้แจก Tablet ให้แล้ว ยิ่งต้องรีบสร้างกันได้แล้วนะครับ เพราะท่านได้รับการคัดเลือกจากโรงเรียน ว่ามีความเหมาะสมในการนำ Tablet ไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในโรงเรียน มีปัญหาประการใดสอบถามครูรุณย์ ได้นะครับ ทั้งบทเรียนออนไลน์ และการสร้างข้อสอบออนไลน์  การนำ Tablet ไปใช้เชื่อมต่อกับ Projector ใช้ขีดเขียนสอนเหมือนเขียนกระดานไวท์บอร์ด แทรกภาพ และเชื่อมโยงข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตได้ในระหว่างสอนในชั้นเรียน  เป็นต้น



วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ห้ามสถานศึกษาไล่ลูกศิษย์ติดยาออกจากสถาบัน



รมช.ศธ.สั่งห้ามสถานศึกษา ไล่นักเรียน-นักศึกษาติดยาออกจากสถาบัน ชี้ต้องคอยตรวจสอบและส่งบำบัด พร้อมวางนโยบายให้ความดีความชอบแก่สถาบันที่จัดการปัญหายาเสพติดได้ดี


วันนี้(15ส.ค.) นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่ ศธ. ได้มีนโยบายหลักในการป้องกันปัญหายาเสพติดในกลุ่มนักเรียนนักศึกษานั้น ขณะนี้ตนได้มอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการป้องกันเด็กนักเรียน นักศึกษาที่เป็นกลุ่มเสี่ยง รวมทั้งเอ็กซเรย์นักเรียนทั่วประเทศว่ามีผู้ใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด จำนวนมากน้อยแค่ไหน หากได้ข้อมูลที่ชัดเจนแล้วก็จะนำผู้ติดยาเสพติดไปบำบัดรักษา ขณะเดียวกันจะมีการขยายผลไปหาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ทั้งผู้เสพรายอื่นและผู้ค้า ซึ่งจะต้องให้ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าไปดำเนินการต่อไป โดยข้อมูลเบื้องต้น ศธ.ได้สำรวจพบว่า มีนักเรียนนักศึกษาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ประมาณร้อยละ 2-3 ซึ่งในจำนวนดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นเด็กกลุ่มมัธยมศึกษาถึงอุดมศึกษา รวมอาชีวศึกษาด้วย ดังนั้นสถานศึกษาที่ตรวจพบว่ามีนักเรียนนักศึกษาเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพ ติดจะต้องเร่งหากลยุทธ์ในการคลี่คลายและป้องกันปัญหาเพื่อไม่ให้นักเรียนนัก ศึกษาคนอื่นเข้าไปสู่วงจรของยาเสพติดไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดก็ตาม

"สำหรับสถานศึกษาที่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ผมมีแนวคิดที่จะให้ใช้กิจกรรมที่ทำในสถาบันมาใช้ประกอบการพิจารณาความดีความ ชอบของผู้บริหารสถานศึกษาและคณาจารย์ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ ใครทำดีก็ต้องได้รับการดูแล ส่วนสถานศึกษาใดที่ปล่อยปละละเลย ซุกปัญหาไว้ใต้พรม ไม่แจ้งข้อมูลข้อเท็จจริง หากทราบก็จะถือว่าเป็นสถาบันยอดแย่ ซึ่งผู้บริหารและคณาจารย์จะต้องมีส่วนในการรับผิดชอบ ผมอยากให้ทุกสถานศึกษาดูแลเด็กเหมือนดูแลลูกของตัวเอง เพราะถ้าหากอนาคตของชาติเข้าไปสู่วังวนของยาเสพติด อนาคตของประเทศชาติก็คงฝากความหวังไว้ที่ใครไม่ได้" รมช.ศธ.กล่าวและว่า นอกจากนี้ตนยังได้เน้นย้ำกับสถานศึกษาทุกแห่ง ในกรณีตรวจสอบพบว่ามีนักเรียนนักศึกษาคนใดเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดจะ ต้องไม่ให้มีการไล่ออกอย่างเด็ดขาด โดยต้องถือว่าเด็กกลุ่มดังกล่าวเป็นผู้เสพที่จะต้องได้รับการบำบัด เพราะหากเราผลักเด็กกลุ่มนี้ออกจากสถานศึกษาไป ย่อมเหมือนเป็นการผลักภาระหรือผลักปัญหาไปให้สังคมโดยที่ยังไม่ได้รับการ แก้ไข.




ขอขอบคุณข่าวสาร/ข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

วันจันทร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วันแม่แห่งชาติ 12 สิงหาคม 2556


ลงนามถวายพระพรสมเด็จพระบรมราชินีนาถ คลิกที่นี่ค่ะ



     http://www.bloggang.com
  • คำขวัญวันแม่ ปี 2556
    “คำโบราณว่าดูนางดูอย่างแม่ คือคำแปลว่าแม่ดีมีลูกเด่น จะชายหญิงรู้ชั่วดีมีกฎเกณฑ์ เพราะจัดเจนแบบอย่างในทางดี”
  • คำขวัญวันแม่ ปี 2555 "มือของแม่นั้นคือมือช่างปั้น ขึ้นรูปอันอ่อนลออจนหล่อเหลา อยากให้เป็นงานดีที่งามเงา อยู่ที่คอยขัดเกลา แต่เบามือ"
  • คำขวัญวันแม่ ปี 2554 "เพลงชาติไทยเตือนไทยไว้เช้าค่ำ ให้จดจำจารึกใจไว้ทุกส่วน จะดำรงคงไทยได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี"
  • คำขวัญวันแม่ ปี 2553 "แผ่นดินนี้ แม่ของลูก ใช้ปลูกข้าว กี่แสนก้าว ที่เดินซ้ำ ย่ำหว่านไถ บำรุงดิน จนอุดม สมดังใจ หวังนาไทย เป็นของไทย ไปนิรันดร์"
  • คำขวัญวันแม่ ปี 2552 “แผ่นดินนี้ปู่ย่าตายายสร้าง เคยทอดร่างลงถมถิ่นแผ่นดินแม่ ขอลูกไทยรักษามั่นไม่ผันแปร เป็นไทยแท้มิใช่ไทยแต่ในนาม”
        เตือนใจเตือนจิตบรรดาศิษย์ทั้งหลาย
              "เตื่อนศิษย์ว่า อย่ารักแม่ แค่คำพูด       ควรพิสูจน์ ทำกายใจ ให้คงมั่น
                ประพฤติชอบ ประพฤติดี ทุกวี่วัน       เกษมสันต์ เกิดแก่แม่ แลศิษย์เอย"

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รับแจก ipad ไปแล้วใช้ประโยชน์พัฒนางานในหน้าที่ให้เต็มที่นะค๊ะ



ส.ส.ยิ้มร่า! สภาแจกไอแพดให้ยืมใช้ สื่องงจัดซื้อแท่งชาร์ตทั้งๆ ที่แถมมาปกติ


 ประธานสภาฯ รับมอบแท็ปเล็ตไอแพด 64จิ๊ก 500 เครื่อง แจกผู้ทรงเกียรติ ชูคุ้ม เพิ่มศักยภาพทำงาน ลดใช้กระดาษ ยันให้แค่ยืมและต้องคืน เผยจัดซื้อเครื่องละ 28,355 บาท สื่องงแท่งชาร์ตปกติก็แถมทำไมต้องซื้อ
      
       วันนี้ (1 ส.ค.) ที่ห้องโถง อาคารรัฐสภา1 เมื่อเวลา 13.30 น. นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานพิธีรับมอบแทปเล็ต ยี่ห้อแอปเปิ้ล รุ่นไอแพด 4 หน่วยความจำ 64 จิ๊กกะไบก์ พร้อมซิมการ์ดหมายเลขโทรศัพท์ จำนวน 500 เครื่อง เท่ากับจำนวนส.ส. 500 คน จากนายสุวิจักขณ์ นาควัชระชัย เลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร ทั้งนี้นายสมศักดิ์ กล่าวว่า การแจกไอแพดคิดว่ามีความคุ้มค่าแล้ว เพราะจะได้สนับสนุนและเพิ่มศักยภาพการทำงานของส.ส. ให้ได้ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ โดยไม่ตกขบวนไอที รวมทั้งเป็นการลดการใช้กระดาษ โดยจะให้ส.ส.ทุกคนจะต้องทำเรื่องยืมและต้องส่งคืนให้กับสำนักงานเลขาธิการ สภาผู้แทนราษฎร
      
       มีรายงานว่าส.ส.ที่จะรับไอแพดต้องกรอกแบบฟอร์มยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบหน้า จอสัมผัส โดยสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจัดซื้อราคาเครื่องละ 28,355 บาท จำนวน 500 เครื่อง รวมทั้งหมดประมาณ 14,177,500 บาท แต่จากการตรวจสอบราคาที่ขายในศูนย์จำหน่ายก็พบว่ารุ่นและคุณสมบัติของ เครื่องนั้น ราคาเครื่องละ 26,500 บาท หากจัดซื้อ 500 เครื่องจะมีงบประมาณทั้งหมด 13,250,000 บาท นอกจากนี้ยังมีการจัดซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติม ได้แก่ 1.ซิมการ์ด 1หมายเลข 2.เคสใส่1,020 บาท 3..สายหูฟัง ราคา 965 บาท 4.ปากกา 1 ด้าม ราคา 430 บาท 5.ฟิล์มด้านติดบนหน้าจอ 6.แท่งชาร์ตพร้อมสาย ราคา 910 บาท และ7.ราคาประกันเพิ่มเติม 2 ปี ราคา 6,000 บาท ทั้งนี้มีการตั้งข้อสังเกตว่าการจัดซื้อแทปเลตดังกล่าวตามปกติจะมีการแถม แท่งชาร์ตพร้อมสายอยู่แล้ว แต่รายการที่เพิ่มขึ้นกลับมีการจัดซื้อเพิ่มเติม
อ้างอิง  ข่าวจากหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

โครงการอบรมคอมพิวเตอร์หลักสูตรการผลิตสื่อการสอนด้วยโปรแกรม Lecture Maker และหลักสูตรการผลิตสื่อการสอนด้วย Social Media สำหรับบุคลากร โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา



โครงการผลิตสื่อการเรียนการสอน
หลักสูตร การสร้างสื่อการสอนมัลติมีเดียแบบสื่อผสม ด้วยโปรแกรม  Lecture Maker

1.              ชื่อกิจกรรม / โครงการ                      โครงการการผลิตสื่อการเรียนการสอนสำหรับครูโรงเรียนวรนารีเฉลิม
                หลักสูตร                                               การสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Lecture Maker
2.              หลักการและเหตุผล
เนื่องจากในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์และมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว    โดยเฉพาะในวงการศึกษา จึงทำให้ครูผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดยมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยการผลิตสื่อการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้แบบ Active Learning  ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการเรียนการสอนระหว่างครูและนักเรียนเป็นแบบปฏิสัมพันธ์กันมากขึ้น   มีบรรยากาศในการเรียนการสอน ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในรายวิชานั้น ๆ ยกระดับสูงขึ้น
โปรแกรม Lecture Maker มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการผลิตสื่อแบบปฏิสัมพันธ์ ซึ่งโปรแกรมทำหน้าที่เป็นเหมือนฐานหลักรองรับให้โปรแกรมอื่น ๆ แสดงผ่านตัวรันโปรแกรมนี้ได้   นอกจากนี้ยังรองรับไฟล์ประเภทมัลติมีเดียที่นำเข้ามาเสริมได้อย่างหลากหลาย เข่น ไฟล์ PowerPoint ไฟล์ Flash ไฟล์ HTML ไฟล์เสียง และไฟล์ Video   นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถบันทึกงานได้หลายรูปแบบ เช่น บันทึกเป็นไฟล์สำหรับเว็บไซต์ .html  หรือ  . Htm   บันทึกเป็น SCORM Package   บันทึกเป็นไฟล์ EXE   บันทึกเป็นไฟล์ประเภท Graphic  และรูปแบบอื่น ๆ
โปรแกรม Lecture Maker   มีลักษณะการทำงานที่คล้ายกับโปรแกรมนำเสนอผลงาน Power Point   ดังนั้นการใช้โปรแกรมก็ไม่ยุ่งยาก  แต่หากเปรียบเทียบความสามารถกันระหว่างโปรแกรม นำเสนอผลงานอย่างเช่น  Power Point กับโปรแกรม Lecture Maker   โปรแกรม Lecture Maker   มีศักยภาพในการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า ด้วยโปรแกรมนี้สะดวก ง่ายต่อการใช้งาน  และยังมีเครื่องมือเสริมเป็นตัวช่วยที่เรียกว่า   Multiple Editor หลายรูปแบบ และยังสามารถรองรับกับกล้อง Webcam , Microphone , Video และสามารถเชื่อมโยงการนำเสนอระหว่างภาพเคลื่อนไหวกับเสียงและตัวอักษร ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้จะช่วยสร้างความโดดเด่น น่าสนใจ และตอบสนองความต้องการได้เป็นอย่างดี


3.              วัตถุประสงค์
1.               เพื่อให้ครูโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา  สามารถจัดทำสื่อการสอนมัลติมีเดียสำหรับใช้สอนนักเรียนในคาบเรียนปกติได้ และสามารถบรรจุสื่อการสอนแบบซีดีรอมให้นักเรียนนำกลับไปศึกษาด้วยตนเองที่บ้านได้
2.               เพื่อเป็นการพัฒนาครู ให้มีความรู้ด้านไอซีที สอดคล้องกับการพัฒนาโรงเรียนไปสู่โรงเรียนมาตรฐานสากล และให้ครูเตรียมพร้อมเพื่อการก้าวย่างเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558

4.              เป้าหมาย
4.1 ด้านปริมาณ
                หลังจากเข้ารับการอบรม  ผู้เข้ารับการอบรมสามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรมLecture Makerได้อย่างน้อย  คนละ 1 หน่วยการเรียนรู้
4.2 ด้านคุณภาพ
                มีการนำสื่อที่สร้างไปใช้ในการเรียนการสอนพร้อมทั้งมีการพัฒนาสื่อให้มีความน่าสนใจเหมาะสมกับผู้เรียนและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

5.              วิธีดำเนินการ
ขั้นตอนกิจกรรม
ระยะเวลา
ผู้รับผิดชอบ
1.  จัดทำโครงการ / ขออนุมัติโครงการ
  กรกฎาคม  2556

ครูการุณย์   สุวรรณรักษา
และคณะ
2. เตรียมข้อมูลและวางแผนการดำเนินงาน
กรกฎาคม 2556
3.  ประชาสัมพันธ์
กรกฎาคม  2556
4. รับสมัครผู้เข้าอบรม
10 –15 กรกฎาคม  2556
4.  ดำเนินการจัดอบรม
กรกฎาคม-สิงหาคม 256
5.  สรุปผล / ประเมิน / รายงานผลการดำเนินงาน
10  กันยายน  2556

6.              งบประมาณ      -

7.              ระยะเวลาดำเนินการ
ระหว่าง  กรกฎาคม-สิงหาคม  2555


8.              จำนวนผู้เข้ารับการอบรม 
ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน   20  คน

         9.   คุณสมบัติผู้เข้ารับการอบรม
1.             มีความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ในระดับปานกลาง
2.             มีความรู้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน เช่น ระบบปฏิบัติการ Windows  การใช้งานโปรแกรม Power Point
3.             การใช้โปรแกรมจัดการรูปภาพต่าง ๆ อยู่บ้าง
4.             มีความสนใจผลิตสื่อการเรียนการสอนประเภทมัลติมีเดีย
5.             ให้ผู้เข้ารับการอบรมเตรียมอาหารกลางวันมาเอง
10.       สถานที่อบรม
           ห้อง 265คารเรียน 2   โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา

11.       ผลที่คาดว่าจะได้รับ
·       ครูสามารถออกแบบสื่อการเรียนรู้ได้
·       ครูสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการสร้างสื่อการเรียนรู้ในรูปแบบมัลติมีเดียได้
·       ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของสื่อการเรียนรู้รูปแบบมัลติมีเดีย
·       ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบมัลติมีเดีย
·       ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบมัลติมีเดีย
·       ครูสามารถนำไปบรูณาการกับวิชาอื่นได้
·       สร้างสื่อ การ สอนเอาไว้รองรับเทคโนโลยีแทปเล็ต ที่รัฐบาลจะแจกให้ผู้เรียนระดับชั้น ม.1ในปีการศึกษาหน้า ผู้เรียนสามารถใช้แทปเล็ตศึกษาสื่อการสอนของครูที่เตรียมเอาไว้พร้อมแล้ว จะทำให้ผู้เรียนใช้แทปเล็ตอย่างคุ้มค่ามีประโยชน์ต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยแท้จริง

12.       ผู้รับผิดชอบโครงการ
            1. นายการุณย์  สุวรรณรักษา
              
2. นางธัญญวดี  เสพมงคลเลิศ
               3. นายวีระ  เตโช
               4. นางจิระพร  ชูชื่น
               5.  นางรุ่งทิวา  เย็นวิเศษ
               6.  นายอุทิศ
               7.  นักเรียนชุมนุม Social Media   จำนวน 10  คน

ลงชื่อ.........................................ผู้เขียน/ ผู้เสนอโครงการ
                                                              (นายการุณย์  สุวรรณรักษา)
                                             ตำแหน่ง ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


     
ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
(นายวีระ  เตโช)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
                                                                    (นายเติม  พกแดง) 
                                     รองผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา


ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
                                                                 (นายวินิจ  ซุ้นสุวรรณ)
                                                  ผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
 



โครงการ ก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media”


              โลกยุค 2.0 ที่เปลี่ยนถ่ายจาก Static    Content  เข้าสู่ยุค Dynamic   Content โดยใช้เทคโนโลยีเครือข่ายที่นับวันจะมีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการนำ Social   Media  มาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้เกิดเป็นรูปธรรมนั้น นับเป็นกลยุทธ์สาคัญในการสร้าง Community แห่งการเรียนรู้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
             ยิ่งปัจจุบันนี้พบว่านักเรียนสามารถศึกษา ค้นคว้าและนำเสนอรายงานต่าง ๆผ่านบล็อกและเครืองมือออนไลน์ต่างๆด้วยตนเอง นักเรียนสามารถนำพาตนเองเข้าสู่สื่อสังคมออนไลน์ เกิดกิจกรรมและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนนักเรียนด้วยกัน ระหว่างนักเรียนกับครูผู้สอน โดยใช้ Social Media เป็นช่องทางสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้ จะทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน
เมื่อได้เล็งเห็นความจำเป็นในเรื่องการใช้เทคโนโลยีระบบเครือข่ายเพื่อจัดการเรียนรู้ จึงได้
ดำเนินการจัดการอบรมหลักสูตรการผลิตสื่อการสอนด้วย “Social  Media” โดยมุ่งหวังเพื่อพัฒนาครูผู้สอน ให้ใช้เทคโนโลยี Social Media ในการพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนให้อยู่ในรูปแบบของ  Anyone Anytime Anywhere เพื่อให้เกิดประสิทธิผลอย่างเป็นรูปธรรมส่งผลต่อการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ให้สูงขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อส่งเสริมให้ครูได้นำเครื่องมือออนไลน์ที่มีอยู่บนอินเทอร์เน็ตมาปรับใช้ในการจัดการ
เรียนรู้ให้ได้อย่างเป็นรูปธรรม
2. เพื่อให้ครูมีสื่อออนไลน์เป็นของตนเองและใช้เป็นช่องทางสื่อสารเกี่ยวกับเนื้อหาบทเรียน
แบบทดสอบของครูผู้สอนในแต่ละรายวิชาได้
3. เพื่อให้เกิด Community และเกิดปฏิสัมพันธ์ ระหว่างนักเรียนกับนักเรียน และนักเรียนกับครู
4. สนับสนุนส่งเสริมให้ครูที่เข้าร่วมการอบรมสามารถเป็นวิทยากรขยายผลต่อครูคนอื่น ๆ ต่อไป

เป้าหมายของโครงการ
1.  ครูมีความรู้ ความสามารถในการใช้เครื่องมือออนไลน์และนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
2. ครูจำนวน 40  คน มีสื่อออนไลน์เป็นของตนเอง และเกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ใหม่
ซึ่งสามารถใช้เป็นช่องทางสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด
3. ครูที่เข้ารับการอบรม มีความสามารถเป็นต้นแบบ/วิทยากรในการขยายผลต่อบุคคลอื่น
ต่อไปได้

กลุ่มเป้าหมาย
ครูโรงเรียนวรนารีเฉลิม  จำนวน 40 คน
คุณสมบัติของผู้สมัคร
1.  ครูโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2.  สามารถเข้าถึงระบบอินเทอร์เน็ตได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน
3. มีความรู้ ความสามารถทางด้านคอมพิวเตอร์ในการใช้โปรแกรม MS Office, ใช้งานอินเทอร์เน็ต
4. มีที่อยู่อีเมล์เป็นของตนเอง (เช่น hotmail, gmail)
5. มีบล็อกเป็นของตนเอง (เช่น facebook, twitter)
6. มีทัศนคติที่ดีและมีความตั้งใจต่อการเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยี และนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ในการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาของตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
ระยะเวลา
กรกฎาคม  2556
2011
สถานที่
              ห้องคอมพิวเตอร์
265   โรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา
 ผู้รับผิดชอบ
              
1. นายการุณย์  สุวรรณรักษา
              
2. นางธัญญวดี  เสพมงคลเลิศ
               3. นายวีระ  เตโช
               4. นางจิระพร  ชูชื่น
               5.  นางรุ่งทิวา  เย็นวิเศษ
               6.  นายอุทิศ
               7.  นักเรียนชุมนุม Social Media   จำนวน 10  คน
เนื้อหาหลักในการประชุม
1.    การนา Social Media ไปปรับใช้กับการศึกษา
2.   การใช้ Microblog ด้วย Twitter  เพื่อปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้
3.    การสร้าง  Blog ด้วยโปรแกรม Blogger สำหรับครูผู้สอน
4.  กลยุทธ์การใช้  Facebook  กับการศึกษา
5.   การทำ Media Sharing ด้วย Picasa, SlideShare
6.  การสร้างวีดิโอออนไลน์ด้วย YouTube
7.  การเชื่อมต่อ Social Media กับอุปกรณ์มือถือ/Tablet/ipad
และเนื้อหาที่น่าสนใจอื่นๆ อีกมาก


รูปแบบ/วิธีในการประชุม
1.     เสวนาเพื่อให้แนวคิดในการนา Social Media ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้ พร้อมตัวอย่าง
2.   ปฏิบัติจริงในเครื่องมือออนไลน์ต่างๆ ที่มีในโครงการ
3.   ให้ศึกษาทีละเครื่องมือ และหลังจากจบ 1 เครื่องมือแล้ว นักเรียนจะได้สื่อ 1 ชิ้น เมื่อเรียนครบทุกชิ้นจะปรากฏรวมอยู่ที่หน้าบล็อกของแต่ละคน เป็นเนื้อหาเดียว
4.  เข้ากลุ่มเพื่อนำเสนอผลงาน 


ลงชื่อ.........................................ผู้เขียน/ ผู้เสนอโครงการ
                                                              (นายการุณย์  สุวรรณรักษา)
                                             ตำแหน่ง ครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม


     
ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
(นายวีระ  เตโช)
หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
                                                                    (นายเติม  พกแดง) 
                                     รองผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา


ลงชื่อ.........................................ผู้เห็นชอบ โครงการ
                                                                 (นายวินิจ  ซุ้นสุวรรณ)
                                                  ผู้อำนวยการโรงเรียนวรนารีเฉลิม จังหวัดสงขลา