บทสรุป"ไทย-เขมร"แจงคดีพระวิหาร
ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาในการชี้แจงด้วยวาจาครั้งสุดท้าย (Oral Hearing)
ไทย-กัมพูชา ต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ไอซีเจ) หรือศาลโลก
จากกรณีที่กัมพูชายื่นเรื่องต่อศาลโลกเพื่อขอให้ตีความคำพิพากษาเดิม
เมื่อปี 2505 ในประเด็นพิพาทพื้นที่รอบตัวปราสาทพระวิหาร
แม้กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มแถลงก่อนในวันที่ 15 เม.ย. โดย ฮอร์นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งพยายามชี้ประเด็นโน้มน้าวให้ศาลโลกเห็นว่าไทยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก เมื่อปี 2505 และรุกรานเข้าพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร รวมถึงใช้กำลังทางอาวุธสร้างความเสียหายต่อตัวปราสาทและประชาชนที่อาศัยใน พื้นที่จนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
อีกทั้ง ไทยไม่ปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของคำสั่งศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2554 เรื่องการถอนทหาร และหาช่องโหว่ในคำสั่งสกัดกั้นไม่ให้ผู้สังเกตุการณ์จากอินโดเซียเข้า พื้นที่ รวมทั้งยังอ้างเรื่องบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดน พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 43) ทั้งที่เขตแดนทั้งหมดเป็นไปตามภาคผนวก 1 หรือแผนที่ 1:200,000 สร้างความสับสนต่อศาลเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาท จึงจำเป็นต้องยื่นตีความเพื่อสร้างความสงบสุขให้กับ 2 ฝ่าย มิฉะนั้นอาจอยู่ร่วมกับไทยไม่สันติ
ทว่า ทีมทนายความกัมพูชา เซอร์ แฟรงคลิน เบอร์แมน เน้นถึงเหตุผลที่จะต้องตีความเพราะเกี่ยวกับสันติภาพและความร่วมมือใน ภูมิภาค อีกทั้ง วัตถุประสงค์กัมพูชา คือ ให้ตีความโดยอาศัยธรรมนูญข้อ 60 ของศาลโลก ซึ่งสามารถทำได้ เพื่อให้สิ่งที่เคยตัดสินมาแล้วนำไปปฏิบัติชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ใช่การขอทำซ้ำเพื่อล้มล้างคำตัดสินเดิม
ด้าน ร็อดแมน บุนดี ยืนยันท่าทีกัมพูชาที่คัดค้านการสร้างรั้วลวดหนามของรัฐบาลไทย เพราะในเดือน เม.ย. 2509 รมว.ต่างประเทศกัมพูชาได้ส่งหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติและคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
นอกจากนี้ยังอ้างถึงถ้อยแถลงของพระบาทสมเด็จพระเจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งพูดถึงรั้วลวดหนามว่าเป็นการปฏิบัติไม่คำนึงถึงคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 และในปี 2509 ยังส่งจดหมายประท้วงในเรื่องเดิมส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำให้ยูเอ็นแต่งตั้งนาย Herbert de Ribbing เป็นผู้ประนอมคดีระหว่างไทย-กัมพูชา และในวันที่ 26 ต.ค. 2509 กัมพูชาได้เขียนจดหมายต่อนาย Herbert ยืนยันว่าปราสาทและบริเวณโดยรอบเป็นของกัมพูชา
“ยังมีรายงานการพบกันระหว่างนาย Herbert และตัวแทนของกัมพูชา และรายงานไปยังเลขาธิการสหประชาชาติว่า นายกรัฐมนตรีกัมพูชาระบุว่ารั้วลวดหนามที่ไทยดำเนินการล้อมไม่ถึงครึ่งทาง จากตัวปราสาทไปถึงเส้นเขตแดนที่ศาลพิพากษา ซึ่งทางกัมพูชาสามารถร้องเรียนประเด็นนี้ไปยังคณะมนตรีความมั่นคงฯได้อีก แต่ขณะนั้นตามสถานการณ์ทางกัมพูชาไม่เลือกที่จะมีปัญหากับรัฐบาลไทย”
ต่อมาวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกของฝ่ายไทยขึ้นชี้แจง โดย วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ตอบโต้ข้อกล่าวหากัมพูชาต่อประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะกัมพูชาหวังขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวโดยอ้างล่วง ล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาท ซึ่งได้รับการปฏิบัติแล้วทันทีโดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้กำหนดขอบเขตใกล้เคียงปราสาทพร้อมสร้างรั้วและป้าย และเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2505 ไทยได้คืนปราสาทพร้อมถอนกำลังทหารออก ซึ่งถือว่ากัมพูชาได้ในสิ่งที่ขอในคำขอเมื่อปี 2505
“กัมพูชากล่าวหาการเมืองภายในไทยเป็นต้นตอของปัญหา แต่สาเหตุที่แท้จริงแล้วคือนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าวทะเยอทะยานของ กัมพูชา การโต้แย้งโดยไม่มีหลักฐาน แสดงให้เห็นชัดในข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ เมื่อเทียบกับปี 2505 บิดเบี้ยวไปมาก โดยไม่สนใจเรื่องภูมิประเทศ อีกทั้ง ขอเท็จจริงในเอ็มโอยู 43 รวมถึงการปักปันเขตแดน ไม่มีคำพิพากษาปราสาท เป็นเพียงขั้นตอนสำรวจสันปันน้ำ กัมพูชาปลอมแปลงเอกสาร แผนที่ 3-4 ในภาคผนวก 49 รวมถึงภาคผนวก 1 เรื่องเขตแดน 4.6 ตร.กม. สิ่งที่กัมพูชาทำบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ศาลเข้าใจผิดกับข้อเท็จจริงต่างๆ”
ขณะที่ อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนีย ได้สำทับข้อมูลอย่างน่าสนโดยชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของแผนที่ 1:200,000 ที่กัมพูชาได้เสนอต่อคณะผู้พิพากษา รวมถึงคำร้องของกัมพูชาได้ใช้แผนที่มาอ้างอิงหลายฉบับ และแผนที่นำมาแสดงนั้นเป็นการเลือกใช้ที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง โดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ได้ให้ความเห็นว่าแผนที่ของกัมพูชานำมา อ้างนั้น ในทางสากลไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง เพราะผิดพลาดทางภูมิประเทศ แม้จะระบุหลายครั้งว่าศาลโลกได้รับรองแผนที่ตามภาคผนวก 1 ของคำพิพากษาเมื่อปี 2505
“ถ้านำแผนที่เก่าของกัมพูชามาวางไว้บนแผนที่ปัจจุบัน จะพบว่าไม่มีความแม่นยำ แต่ไม่ทราบว่ามีการนำแผนที่มาสับเปลี่ยนกันหรือไม่ และต้องขอชื่มชมกัมพูชาหากเราจะตัดสินจากความละอายของกัมพูชาที่ไม่มีการโต้ แย้งในเรื่องนี้ สิ่งที่ทนายฝ่ายกัมพูชา ให้ถ้อยแถลงต่อคณะผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ระบุว่าแผนที่ที่ได้นำเสนอนั้นเป็นการขีดเส้นตัดกันระหว่างแผนที่ในภาคผนวก 1 และแนวเส้นสันปันน้ำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากการถ่ายทอดแผนที่ในอดีตมายังแผนที่ปัจจุบันมีความยาก เพราะต้องใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ และหากนำแผนที่ตามถ้อยแถลงของทนายฝ่ายกัมพูชามาอ้างอิงจะพบว่าส่วนที่ตัดกัน นั้นอยู่ห่างจากตัวปราสาท มากถึง 6.8กม.”
อแลง แปลเล่ต์ ยกประเด็นการเสด็จไปยังปราสาทพระวิหารของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงเดชานุภาพ เมื่อปี 2473 ทำให้ศาลมีคำพิพากษาในปี 2505 ว่าไทยได้ยอมรับอธิปไตยเหนือดินแดนของกัมพูชาโดยปริยาย เพราะฉะนั้นศาลก็ไม่สามารถดำเนินการสองมาตรฐานได้ เพราะสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชาก็เสด็จไปยังปราสาทพระวิหารเช่นกัน โดยพระองค์มีท่าทีเงียบเเละนิ่งเฉยต่อมาตรการล้อมรั้วลวดหนามและป้ายติดตั้ง ระบุเขตแดนของรัฐบาลไทย
สำหรับวันที่ 18 เม.ย. ในการชี้แจงสรุปรอบสุดท้ายของกัมพูชา ฌอง มาร์ค ซอเวล พยายามยกข้อมูลให้ศาลเห็นว่า รัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถกำหนดเขตแดนที่ติดกับเพื่อนบ้านได้ แต่ไทยกลับดำเนินการขัดแย้งคำพิพากษาเดิม และเอ็มโอยู 43 ที่กำหนดกรอบการจัดทำหลักเขตแดนย่อมสอดคล้องกับการปักปันเขตแดนที่มีอยู่ แล้วในแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งศาลโลกปี 2505 ใช้ตัดสินว่าไทยยอมรับแผนที่ที่เกิดขึ้นจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม สยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตามคำพิพากษาเดิม และอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาท ไม่ถือเป็นตัวปราสาท แต่หมายถึงบริเวณใกล้เคียงด้วย ดังนั้นื ศาลจำเป็นต้องพิจารณา “แผนที่” เพื่อให้รู้ว่าเขตแดนอยู่ที่ใด หรือ คนไทยยอมรับความพ่ายแพ้ไม่ได้
ขณะที่ ฮอร์นัมฮง กล่าวปิดว่า คำตัดสินของศาลมีส่วนสำคัญเพราะส่งผลต่อความสัมพันธ์และความมั่นคงในภูมิภาค ของ 2 ประเทศ หากศาลไม่รับตีความก็คงไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ทั้งนี้ ศาลทราบดีว่าคำตัดสินจะสามารถยุติข้อพิพาทเหล่านี้ และนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีไทย-กัมพูชา ขณะที่วิธีการของไทยที่ใช้มาตรการต่างๆตามคำสั่งของศาล และข้ออ้างของไทยเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไม่มีเหตุผล ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ และกัมพูชาก็มีข้อมูลใหม่ทำให้เชื่อได้ว่าคำขอของกัมพูชามีความชอบธรรม ซึ่งคิดว่าศาลจะทราบดี
ส่วนการชี้แจงรอบสุดท้ายฝ่ายไทยในวันที่ 19 เม.ย. วีรชัย ยังยืนยันต่อศาลถึงอำนาจการรับพิจารณาเรื่องดังกล่าวตามคำขอของกัมพูชาว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกัมพูชาใช้แผนที่ปลอม แอบอ้างแผนที่หลายฉบับ และการตัดสินของศาลในปี 2505 ก็ไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของคู่ความที่จะต้องไปตกลงกันเอง ขณะที่กัมพูชาชอบแย่งหลักฐานของไทยไปใช้ ตั้งแต่ปี 2502 และไม่มีความคงเส้นคงวา
โดยความไม่คงเส้นคงวาเรื่องที่ 1 คือ การพิจารณาครั้งแรกในปี 2502 กัมพูชาขอพิจารณาเรื่องบูรณภาพเหนือปราสาท แต่ในเดือนมี.ค.2505 กลับขอให้พิพากษาเรื่องเขตแดนและสถานภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก1 ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่ศาลปฏิเสธคำขอในครั้งนั้น ส่วนความไม่คงเส้นคงวาเรื่องที่ 2 คือ ในปี 2502 เป็นต้นมาถึงตอนนี้ ได้เห็นกัมพูชา 2 อย่าง กัมพูชาได้ยื่นแผนที่ให้ภาคผนวก1 ให้ศาล แต่วันนี้เป็นอีกฉบับและมีเส้นแบ่งที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามาถบอกได้ว่าเส้นใดกันแน่ที่อยากให้ศาลรับรอง
"ในปี2506 ผู้นำสูงสุดของกัมพูชากล่าวไว้ว่าความแตกต่างระหว่างเส้นในมติครม.กับสิ่ง ที่อ้างในคดีแรกห่างกัน 2-3 เมตรเป็นเพียงเล็กน้อย แต่วันนี้ไม่อ้างเรื่องนั้น แต่กลับอ้างพื้นที่ 4.6 ตร.กม." ไทยไม่ได้ขออะไรมากกว่าสิ่งที่เป็นของเรา ที่ศาลปี 2505 บอกว่าเป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส แต่ขณะนี้กัมพูชาขอในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ตีความเอาเอง อ้างข้ออ้างใหม่ ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งศาลสามารถไม่รับตีความคำร้องของกัมพูชา ตามข้อบังคับ 60 ของธรรมนูญศาลโลกได้
ข้อมูลจาก http://www.posttoday.com
แม้กัมพูชาเป็นฝ่ายเริ่มแถลงก่อนในวันที่ 15 เม.ย. โดย ฮอร์นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.ต่างประเทศกัมพูชา ซึ่งพยายามชี้ประเด็นโน้มน้าวให้ศาลโลกเห็นว่าไทยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาลโลก เมื่อปี 2505 และรุกรานเข้าพื้นที่ชายแดนปราสาทพระวิหาร รวมถึงใช้กำลังทางอาวุธสร้างความเสียหายต่อตัวปราสาทและประชาชนที่อาศัยใน พื้นที่จนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวนมาก
อีกทั้ง ไทยไม่ปฏิบัติตามมาตรการชั่วคราวของคำสั่งศาลโลก เมื่อวันที่ 18 ก.ค. 2554 เรื่องการถอนทหาร และหาช่องโหว่ในคำสั่งสกัดกั้นไม่ให้ผู้สังเกตุการณ์จากอินโดเซียเข้า พื้นที่ รวมทั้งยังอ้างเรื่องบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชาว่าด้วยการสำรวจและ จัดทำหลักเขตแดน พ.ศ. 2543 (เอ็มโอยู 43) ทั้งที่เขตแดนทั้งหมดเป็นไปตามภาคผนวก 1 หรือแผนที่ 1:200,000 สร้างความสับสนต่อศาลเรื่องอำนาจอธิปไตยเหนือตัวปราสาท จึงจำเป็นต้องยื่นตีความเพื่อสร้างความสงบสุขให้กับ 2 ฝ่าย มิฉะนั้นอาจอยู่ร่วมกับไทยไม่สันติ
ทว่า ทีมทนายความกัมพูชา เซอร์ แฟรงคลิน เบอร์แมน เน้นถึงเหตุผลที่จะต้องตีความเพราะเกี่ยวกับสันติภาพและความร่วมมือใน ภูมิภาค อีกทั้ง วัตถุประสงค์กัมพูชา คือ ให้ตีความโดยอาศัยธรรมนูญข้อ 60 ของศาลโลก ซึ่งสามารถทำได้ เพื่อให้สิ่งที่เคยตัดสินมาแล้วนำไปปฏิบัติชัดเจนต่อเนื่อง ไม่ใช่การขอทำซ้ำเพื่อล้มล้างคำตัดสินเดิม
ด้าน ร็อดแมน บุนดี ยืนยันท่าทีกัมพูชาที่คัดค้านการสร้างรั้วลวดหนามของรัฐบาลไทย เพราะในเดือน เม.ย. 2509 รมว.ต่างประเทศกัมพูชาได้ส่งหนังสือไปยังเลขาธิการสหประชาชาติและคณะมนตรี ความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น)
นอกจากนี้ยังอ้างถึงถ้อยแถลงของพระบาทสมเด็จพระเจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชา ซึ่งพูดถึงรั้วลวดหนามว่าเป็นการปฏิบัติไม่คำนึงถึงคำพิพากษาศาลโลกเมื่อปี 2505 และในปี 2509 ยังส่งจดหมายประท้วงในเรื่องเดิมส่งไปยังคณะมนตรีความมั่นคงฯ ทำให้ยูเอ็นแต่งตั้งนาย Herbert de Ribbing เป็นผู้ประนอมคดีระหว่างไทย-กัมพูชา และในวันที่ 26 ต.ค. 2509 กัมพูชาได้เขียนจดหมายต่อนาย Herbert ยืนยันว่าปราสาทและบริเวณโดยรอบเป็นของกัมพูชา
“ยังมีรายงานการพบกันระหว่างนาย Herbert และตัวแทนของกัมพูชา และรายงานไปยังเลขาธิการสหประชาชาติว่า นายกรัฐมนตรีกัมพูชาระบุว่ารั้วลวดหนามที่ไทยดำเนินการล้อมไม่ถึงครึ่งทาง จากตัวปราสาทไปถึงเส้นเขตแดนที่ศาลพิพากษา ซึ่งทางกัมพูชาสามารถร้องเรียนประเด็นนี้ไปยังคณะมนตรีความมั่นคงฯได้อีก แต่ขณะนั้นตามสถานการณ์ทางกัมพูชาไม่เลือกที่จะมีปัญหากับรัฐบาลไทย”
ต่อมาวันที่ 17 เม.ย. ซึ่งเป็นวันแรกของฝ่ายไทยขึ้นชี้แจง โดย วีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้ตอบโต้ข้อกล่าวหากัมพูชาต่อประเด็นที่หยิบยกขึ้นมาถือเป็นเรื่องใหม่ เพราะกัมพูชาหวังขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกฝ่ายเดียวโดยอ้างล่วง ล้ำเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตร.กม. ดังนั้น จึงไม่เกี่ยวกับอธิปไตยเหนือปราสาท ซึ่งได้รับการปฏิบัติแล้วทันทีโดยมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้กำหนดขอบเขตใกล้เคียงปราสาทพร้อมสร้างรั้วและป้าย และเมื่อวันที่ 15 ก.ค. 2505 ไทยได้คืนปราสาทพร้อมถอนกำลังทหารออก ซึ่งถือว่ากัมพูชาได้ในสิ่งที่ขอในคำขอเมื่อปี 2505
“กัมพูชากล่าวหาการเมืองภายในไทยเป็นต้นตอของปัญหา แต่สาเหตุที่แท้จริงแล้วคือนโยบายต่างประเทศที่ก้าวร้าวทะเยอทะยานของ กัมพูชา การโต้แย้งโดยไม่มีหลักฐาน แสดงให้เห็นชัดในข้อพิพาทบริเวณพื้นที่ เมื่อเทียบกับปี 2505 บิดเบี้ยวไปมาก โดยไม่สนใจเรื่องภูมิประเทศ อีกทั้ง ขอเท็จจริงในเอ็มโอยู 43 รวมถึงการปักปันเขตแดน ไม่มีคำพิพากษาปราสาท เป็นเพียงขั้นตอนสำรวจสันปันน้ำ กัมพูชาปลอมแปลงเอกสาร แผนที่ 3-4 ในภาคผนวก 49 รวมถึงภาคผนวก 1 เรื่องเขตแดน 4.6 ตร.กม. สิ่งที่กัมพูชาทำบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ศาลเข้าใจผิดกับข้อเท็จจริงต่างๆ”
ขณะที่ อลินา มิรอง ทนายความชาวโรมาเนีย ได้สำทับข้อมูลอย่างน่าสนโดยชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องของแผนที่ 1:200,000 ที่กัมพูชาได้เสนอต่อคณะผู้พิพากษา รวมถึงคำร้องของกัมพูชาได้ใช้แผนที่มาอ้างอิงหลายฉบับ และแผนที่นำมาแสดงนั้นเป็นการเลือกใช้ที่เป็นประโยชน์กับตัวเอง โดยนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านแผนที่ได้ให้ความเห็นว่าแผนที่ของกัมพูชานำมา อ้างนั้น ในทางสากลไม่สามารถนำมาปฏิบัติใช้ได้จริง เพราะผิดพลาดทางภูมิประเทศ แม้จะระบุหลายครั้งว่าศาลโลกได้รับรองแผนที่ตามภาคผนวก 1 ของคำพิพากษาเมื่อปี 2505
“ถ้านำแผนที่เก่าของกัมพูชามาวางไว้บนแผนที่ปัจจุบัน จะพบว่าไม่มีความแม่นยำ แต่ไม่ทราบว่ามีการนำแผนที่มาสับเปลี่ยนกันหรือไม่ และต้องขอชื่มชมกัมพูชาหากเราจะตัดสินจากความละอายของกัมพูชาที่ไม่มีการโต้ แย้งในเรื่องนี้ สิ่งที่ทนายฝ่ายกัมพูชา ให้ถ้อยแถลงต่อคณะผู้พิพากษา เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ระบุว่าแผนที่ที่ได้นำเสนอนั้นเป็นการขีดเส้นตัดกันระหว่างแผนที่ในภาคผนวก 1 และแนวเส้นสันปันน้ำ ถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อถือ เนื่องจากการถ่ายทอดแผนที่ในอดีตมายังแผนที่ปัจจุบันมีความยาก เพราะต้องใช้วิธีทางคณิตศาสตร์ และหากนำแผนที่ตามถ้อยแถลงของทนายฝ่ายกัมพูชามาอ้างอิงจะพบว่าส่วนที่ตัดกัน นั้นอยู่ห่างจากตัวปราสาท มากถึง 6.8กม.”
อแลง แปลเล่ต์ ยกประเด็นการเสด็จไปยังปราสาทพระวิหารของสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงเดชานุภาพ เมื่อปี 2473 ทำให้ศาลมีคำพิพากษาในปี 2505 ว่าไทยได้ยอมรับอธิปไตยเหนือดินแดนของกัมพูชาโดยปริยาย เพราะฉะนั้นศาลก็ไม่สามารถดำเนินการสองมาตรฐานได้ เพราะสมเด็จเจ้านโรดม สีหนุ อดีตกษัตริย์กัมพูชาก็เสด็จไปยังปราสาทพระวิหารเช่นกัน โดยพระองค์มีท่าทีเงียบเเละนิ่งเฉยต่อมาตรการล้อมรั้วลวดหนามและป้ายติดตั้ง ระบุเขตแดนของรัฐบาลไทย
สำหรับวันที่ 18 เม.ย. ในการชี้แจงสรุปรอบสุดท้ายของกัมพูชา ฌอง มาร์ค ซอเวล พยายามยกข้อมูลให้ศาลเห็นว่า รัฐบาลฝ่ายเดียวไม่สามารถกำหนดเขตแดนที่ติดกับเพื่อนบ้านได้ แต่ไทยกลับดำเนินการขัดแย้งคำพิพากษาเดิม และเอ็มโอยู 43 ที่กำหนดกรอบการจัดทำหลักเขตแดนย่อมสอดคล้องกับการปักปันเขตแดนที่มีอยู่ แล้วในแผนที่ภาคผนวก 1 ซึ่งศาลโลกปี 2505 ใช้ตัดสินว่าไทยยอมรับแผนที่ที่เกิดขึ้นจากคณะกรรมการปักปันเขตแดนร่วม สยาม-ฝรั่งเศส ซึ่งเป็นตามคำพิพากษาเดิม และอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาท ไม่ถือเป็นตัวปราสาท แต่หมายถึงบริเวณใกล้เคียงด้วย ดังนั้นื ศาลจำเป็นต้องพิจารณา “แผนที่” เพื่อให้รู้ว่าเขตแดนอยู่ที่ใด หรือ คนไทยยอมรับความพ่ายแพ้ไม่ได้
ขณะที่ ฮอร์นัมฮง กล่าวปิดว่า คำตัดสินของศาลมีส่วนสำคัญเพราะส่งผลต่อความสัมพันธ์และความมั่นคงในภูมิภาค ของ 2 ประเทศ หากศาลไม่รับตีความก็คงไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้ ทั้งนี้ ศาลทราบดีว่าคำตัดสินจะสามารถยุติข้อพิพาทเหล่านี้ และนำมาซึ่งความสัมพันธ์อันดีไทย-กัมพูชา ขณะที่วิธีการของไทยที่ใช้มาตรการต่างๆตามคำสั่งของศาล และข้ออ้างของไทยเรื่องพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ไม่มีเหตุผล ถือเป็นสิ่งที่ไม่สามารถยอมรับได้ และกัมพูชาก็มีข้อมูลใหม่ทำให้เชื่อได้ว่าคำขอของกัมพูชามีความชอบธรรม ซึ่งคิดว่าศาลจะทราบดี
ส่วนการชี้แจงรอบสุดท้ายฝ่ายไทยในวันที่ 19 เม.ย. วีรชัย ยังยืนยันต่อศาลถึงอำนาจการรับพิจารณาเรื่องดังกล่าวตามคำขอของกัมพูชาว่า ไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากกัมพูชาใช้แผนที่ปลอม แอบอ้างแผนที่หลายฉบับ และการตัดสินของศาลในปี 2505 ก็ไม่ได้พิจารณาในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของคู่ความที่จะต้องไปตกลงกันเอง ขณะที่กัมพูชาชอบแย่งหลักฐานของไทยไปใช้ ตั้งแต่ปี 2502 และไม่มีความคงเส้นคงวา
โดยความไม่คงเส้นคงวาเรื่องที่ 1 คือ การพิจารณาครั้งแรกในปี 2502 กัมพูชาขอพิจารณาเรื่องบูรณภาพเหนือปราสาท แต่ในเดือนมี.ค.2505 กลับขอให้พิพากษาเรื่องเขตแดนและสถานภาพทางกฎหมายของแผนที่ภาคผนวก1 ซึ่งไม่น่าแปลกใจที่ศาลปฏิเสธคำขอในครั้งนั้น ส่วนความไม่คงเส้นคงวาเรื่องที่ 2 คือ ในปี 2502 เป็นต้นมาถึงตอนนี้ ได้เห็นกัมพูชา 2 อย่าง กัมพูชาได้ยื่นแผนที่ให้ภาคผนวก1 ให้ศาล แต่วันนี้เป็นอีกฉบับและมีเส้นแบ่งที่แตกต่างกันไป และยังไม่สามาถบอกได้ว่าเส้นใดกันแน่ที่อยากให้ศาลรับรอง
"ในปี2506 ผู้นำสูงสุดของกัมพูชากล่าวไว้ว่าความแตกต่างระหว่างเส้นในมติครม.กับสิ่ง ที่อ้างในคดีแรกห่างกัน 2-3 เมตรเป็นเพียงเล็กน้อย แต่วันนี้ไม่อ้างเรื่องนั้น แต่กลับอ้างพื้นที่ 4.6 ตร.กม." ไทยไม่ได้ขออะไรมากกว่าสิ่งที่เป็นของเรา ที่ศาลปี 2505 บอกว่าเป็นไปตามสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส แต่ขณะนี้กัมพูชาขอในสิ่งที่ไม่ชอบด้วยเหตุผล ตีความเอาเอง อ้างข้ออ้างใหม่ ซึ่งไม่สามารถพิสูจน์ได้ ซึ่งศาลสามารถไม่รับตีความคำร้องของกัมพูชา ตามข้อบังคับ 60 ของธรรมนูญศาลโลกได้
ข้อมูลจาก http://www.posttoday.com
ลำดับเหตุการณ์เขาพระวิหาร โดย รศ.รังสรรค์ วงษ์บุญ
โดย ดร.ไก่ Tanond (บันทึก) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2011 เวลา 18:38 น.
ลำดับเหตุการณ์ - กรณีเขาพระวิหาร โดยรศ.รังสรรค์ วงษ์บุญ
ขอสรุปลำดับเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้
1. วันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ.1962) ศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา
ไม่รวมพื้นที่บริเวณโดยรอบ สรุปย่อคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารอ่านที่ีนี่ครับ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962
2. วันที่ 20 มีนาคม 2541 มี พรบ. ประกาศให้ เขาพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติ สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
ข้อมูลทั่วไปอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา
มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541
เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ
กำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด
เป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา
ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก
ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร
เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่างๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขา สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้จะคละปะปนกันมาก
บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประกอบด้วยสภาพธรรมชาติที่มีทัศนียภาพสวยงามเด่นชัดเฉพาะตัว มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
มีโบราณสถานสำคัญๆ เช่น ภาพสลักนูนต่ำ สถูปคู่ ผามออีแดง สระตราว แหล่งตัดหิน ถ้ำฤาษี ช่องตาเฒ่า ช่องโพย
น้ำตกและถ้ำขุนศรี น้ำตกห้วยตา เขาสัตตะโสม เขื่อนห้วยขนุน น้ำตกไทรย้อย ช่องอานม้า ฯลฯ
ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
3. วันที่ 14 มิถุนายน 2543 ไทย - กัมพูชา เซ็น MOU 2543
สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็น รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็น รมช. กระทรวงการต่างประเทศ
MoU หรือ “บันทึกความเข้าใจ” (MOU-Memorandum Of Understanding)
เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้
ในทางการทูตบันทึกความเข้าใจ หรือ “เอ็มโอยู” เป็นส่วนหนึ่งของ “สนธิสัญญา” (treaty)
ที่มา : http://www.dailynews.co.th
MoU 2543 ทำขึ้นมาเพื่อ
- เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและกัมพูชา
- จัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากหลักเขตเดิมซึ่งได้จัดทำขึ้น
โดยคณะปักปันเขตแดนร่วมกรุงสยาม และ ประเทศฝรั่งเศสได้สูญหาย ชำรุด
หรือ ถูกเคลื่อนย้าย ในช่วงเวลา เกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา
- ฯลฯ
MoU 2543 มีสาระสำคัญ คือ ไทยและกัมพูชา ตกลงกันว่า วิธีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
จะดำเนินการในแนวทางตามเอกสารสำคัญคือ
1. อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904
2. สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (มาตรา 1[a]และ1[b] )
3. แผนที่ทั้งหลาย (Maps) ซึ่งเป็นผลของการปักปันเขตแดน
โดยคณะกรรมาธิการ(Commissions) ร่วมอินโดจีน – สยาม (ก่อตั้งขึ้นตามหนังสือสัญญาทั้งสอง)
ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวโยงกับหนังสือสัญญาทั้งสอง (มาตรา 1[c] )
- ไทยและกัมพูชาดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC)
เพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน (มาตรา 2)
- ทั้งสองฝ่ายตกลงว่า ในขณะที่กำลังสำรวจเขตแดน จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ในสภาพแวดล้อมของบริเวณพื้นที่เขตแดน (มาตรา 5)
4. ฯลฯ
จาก 2543-2553 มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง?
- นับแต่ปี 2544 ฝ่ายกัมพูชา มิได้ทำตามคำมั่นสัญญา ปล่อยให้ชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่
ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อนโดยที่รัฐบาลไทยในช่วงนั้นมิได้มีการทักท้วงแต่อย่างใด
- รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้จัดการประชุม JBC ขึ้น ถึง 3 ครั้ง
โดยมี ดร.ประชา คุณเกษมเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ทั้ง 3 ครั้ง
- ในช่วงที่เกิดข้อพิพาท กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ใช้ MoU 2543 เป็นเอกสารอ้างอิงในการทักท้วง
- ในการเจรจาระหว่างไทยกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะใช้ MoU นี้เป็นกรอบในการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาระหว่างกัน
โดยได้นัดหมายว่าจะมีการประชุม JBC ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 18 สิงหาคม 2551
- ไทยยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชานับร้อยฉบับกรณีเข้ามาบุกรุกดัดแปลงพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
แต่กัมพูชาเพิกเฉย
ที่มา : http://www.parliament.go.th
4. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 กัมพูชาระดมยิงเข้ามาฝั่งไทย แต่ถูกทหารไทยตอบโต้อย่างหนักเช่นกัน
5. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 กัมพูชาทำหนังสือร้องเรียนไปยังนางมาเรีย ลุยซา ริเบโร วิออตติ
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC)
อ้างว่ากองทัพไทยรุกรานดินแดนกัมพูชาก่อน ทั้งๆ ที่ตกลงหยุดยิงกันแล้ว
อ้างปราสาทพระวิหารที่ขึ้นเป็นมรดกโลกได้รับความเสียหาย
อ้างว่าไทยละเมิดกฎบัตรยูเอ็น-สนธิสัญญา หลายฉบับ
อ้างว่าไทยคุกคามสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค
ขอให้เรียกประชุมด่วนให้นานาชาติเข้าแทรกแซงยุติปัญหา ให้มีการหยุดยิงถาวร
6. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ผลการร่วมประชุมกับคณะมนตรีความมั่นคง 15 ประเทศ หรือ UNSC แห่งสหประชาชาติ
ให้ไทยกับกัมพูชาเจรจาทวิภาคี โดยให้ประชาคมอาเซียนเป็นพี่เลี้ยง
ส่วนเรื่องการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร ก็สามารถทำได้โดยให้รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งไทยและกัมพูชามาเจรจากัน
7. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 คำสั่งของประธานอาเซียนขอเป็นตัวกลางแก้ปัญหาข้อพาทของทั้ง 2 ประเทศ
และให้มีผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่เขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบ
8. วันที่ 22 เมษายน 2554 - วันที่ 29 เมษายน 2554 กัมพูชาระดมยิงเข้ามาฝั่งไทย และ ไทยตอบโต้อย่างหนักเช่นกัน
กัมพูชาทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC กล่าวหาไทยว่า
เป็นผู้รุกราน ละเมิดข้อตกลงที่ประชุม UNSC เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา
ละเมิดคำสั่งของประธานอาเซียน ที่พยายามเป็นตัวกลางแก้ปัญหาข้อพาทของทั้ง 2 ประเทศ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ด้วย
การพยายามในการเรียกร้องเจรจาทวิภาคีของไทย นั้น เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น
เมื่อสบโอกาสก็ใช้กำลังเข้ารุกรานกัมพูชา ตลอดเวลา
เนื้อหาในจดหมายยืนยันว่า กัมพูชา
- ได้พยายามยับยั้งชั่งใจในการตอบโต้การรุกรานของไทย
- พยายามที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว แต่ก็ต้องขอสงวนสิทธิ์ในการตอบโต้ เพื่อรักษาอธิปไตย
9. วันที่ 29 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกใน 2 ประเด็น คือ
- ขอให้ “ตีความ” คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี ๒๕๐๕
ในเรื่องขอบเขตพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทว่ากินบริเวณแค่ไหน
- ขอให้กำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราว
โดยขอให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบโดยไม่มีเงื่อนไข
10. ความเห็นของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล เรื่อง ไทยต้องไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก หรือ
ต้องบอกว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาคดีในเรื่องนี้ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ครับ
http://www.15thmove.net/article/icj-prasat-phra-viharn-after-may30-31-sompong/
11. ศาลโลกรับพิจารณคดีนี้ โดยคณะผู้พิพากษาประจำศาลมี 15 ท่าน +
+ ผู้พิพากษาสมทบที่แต่งตั้งโดยกัมพูชา 1 ท่าน เป็นชาวฝรั่งเศษ +
+ ผู้พิพากษาสมทบที่แต่งตั้งโดยฝ่ายไทย 1 ท่าน เป็นชาวฝรั่งเศษ
ต่อมามีผู้พิพากษาประจำศาลชาวเม็กซิโกถอนตัวจากคดีนี้ไป 1 ท่าน
จึงเหลือคณะผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนี้ทั้งหมด 16 ท่าน รายละเอียดอ่านที่นี่ ครับ
http://www.icj-cij.org/court/index.php?p1=1&p2=2&p3=1
12. รวมข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศการชี้แจงของประเทศไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๓๐ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
(กรณีกัมพูชาขอให้ศาลสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างรอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร) รายละเอียดอ่านที่นี่ครับ
https://sites.google.com/site/verapat/temple/2011
13. ศาลโลกมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 : ประเด็นที่คนไทยควรรู้ รายละเอียดอ่านที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/note.php?note_id=237340269620868
14. ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้พิพากษาประจำศาลโลกทั้ง 14 ท่าน + 2 ท่านที่แต่งตั้งโดยกัมพูชาและฝ่ายไทยชาติละ 1 ท่าน
รวมเป็น 16 ท่าน นั้น แต่ละท่านลงคะแนนให้ฝ่ายใดในแต่ละประเด็นด้วยเหตุผลอย่างไร
ขอสรุปลำดับเหตุการณ์ ดังต่อไปนี้
1. วันที่ 15 มิถุนายน 2505 (ค.ศ.1962) ศาลโลกตัดสินให้เฉพาะตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา
ไม่รวมพื้นที่บริเวณโดยรอบ สรุปย่อคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารอ่านที่ีนี่ครับ https://sites.google.com/site/verapat/temple/summary1962
2. วันที่ 20 มีนาคม 2541 มี พรบ. ประกาศให้ เขาพระวิหารเป็นอุทยานแห่งชาติ สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
ข้อมูลทั่วไปอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือ 130 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา
มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504
โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541
เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ
กำหนดให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด
เป็นพื้นที่ในความรับผิดชอบของกองทัพภาคที่ 2 และกองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาค 2 ค่ายสุรนารี นครราชสีมา
ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก
ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศกัมพูชา
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง และเนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร
เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่างๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น
พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชันเป็นเนินเขา สภาพป่าประกอบด้วย ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้จะคละปะปนกันมาก
บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประกอบด้วยสภาพธรรมชาติที่มีทัศนียภาพสวยงามเด่นชัดเฉพาะตัว มีสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์
มีโบราณสถานสำคัญๆ เช่น ภาพสลักนูนต่ำ สถูปคู่ ผามออีแดง สระตราว แหล่งตัดหิน ถ้ำฤาษี ช่องตาเฒ่า ช่องโพย
น้ำตกและถ้ำขุนศรี น้ำตกห้วยตา เขาสัตตะโสม เขื่อนห้วยขนุน น้ำตกไทรย้อย ช่องอานม้า ฯลฯ
ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารทางด้านบริเวณผามออีแดง ท้องที่ตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
3. วันที่ 14 มิถุนายน 2543 ไทย - กัมพูชา เซ็น MOU 2543
สมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็น รมว.กระทรวงการต่างประเทศ
มรว.สุขุมพันธ์ บริพัตร เป็น รมช. กระทรวงการต่างประเทศ
MoU หรือ “บันทึกความเข้าใจ” (MOU-Memorandum Of Understanding)
เป็นหนังสือซึ่งฝ่ายหนึ่งแสดงความสมัครใจจะปฏิบัติอย่างหนึ่งอย่างใด และตามเงื่อนไขที่ปรากฏในหนังสือนั้นกับอีกฝ่ายหนึ่ง
โดยที่หนังสือนี้ไม่ถือว่าเป็นสัญญาผูกมัด แต่แสดงความต้องการอันแน่วแน่ของผู้ลงนามว่าจะปฏิบัติดังที่ได้ระบุไว้
ในทางการทูตบันทึกความเข้าใจ หรือ “เอ็มโอยู” เป็นส่วนหนึ่งของ “สนธิสัญญา” (treaty)
ที่มา : http://www.dailynews.co.th
MoU 2543 ทำขึ้นมาเพื่อ
- เพื่อส่งเสริมสัมพันธไมตรีระหว่างไทยและกัมพูชา
- จัดทำหลักเขตแดนทางบกขึ้นมาอีกครั้ง เนื่องจากหลักเขตเดิมซึ่งได้จัดทำขึ้น
โดยคณะปักปันเขตแดนร่วมกรุงสยาม และ ประเทศฝรั่งเศสได้สูญหาย ชำรุด
หรือ ถูกเคลื่อนย้าย ในช่วงเวลา เกือบ 100 ปี ที่ผ่านมา
- ฯลฯ
MoU 2543 มีสาระสำคัญ คือ ไทยและกัมพูชา ตกลงกันว่า วิธีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดน
จะดำเนินการในแนวทางตามเอกสารสำคัญคือ
1. อนุสัญญาระหว่างกรุงสยามและฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904
2. สนธิสัญญาระหว่างพระเจ้าแผ่นดินแห่งกรุงสยาม และประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐฝรั่งเศส
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม ค.ศ. 1907 (มาตรา 1[a]และ1[b] )
3. แผนที่ทั้งหลาย (Maps) ซึ่งเป็นผลของการปักปันเขตแดน
โดยคณะกรรมาธิการ(Commissions) ร่วมอินโดจีน – สยาม (ก่อตั้งขึ้นตามหนังสือสัญญาทั้งสอง)
ตลอดจนเอกสารอื่นๆ ซึ่งเกี่ยวโยงกับหนังสือสัญญาทั้งสอง (มาตรา 1[c] )
- ไทยและกัมพูชาดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม (Joint Boundary Commission: JBC)
เพื่อรับผิดชอบการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกร่วมกัน (มาตรา 2)
- ทั้งสองฝ่ายตกลงว่า ในขณะที่กำลังสำรวจเขตแดน จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด
ในสภาพแวดล้อมของบริเวณพื้นที่เขตแดน (มาตรา 5)
4. ฯลฯ
จาก 2543-2553 มีสิ่งใดเกิดขึ้นบ้าง?
- นับแต่ปี 2544 ฝ่ายกัมพูชา มิได้ทำตามคำมั่นสัญญา ปล่อยให้ชาวกัมพูชาเข้ามาสร้างสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่
ซึ่งมีการอ้างสิทธิอธิปไตยทับซ้อนโดยที่รัฐบาลไทยในช่วงนั้นมิได้มีการทักท้วงแต่อย่างใด
- รัฐบาล พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร ได้จัดการประชุม JBC ขึ้น ถึง 3 ครั้ง
โดยมี ดร.ประชา คุณเกษมเป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย ทั้ง 3 ครั้ง
- ในช่วงที่เกิดข้อพิพาท กระทรวงการต่างประเทศก็ได้ใช้ MoU 2543 เป็นเอกสารอ้างอิงในการทักท้วง
- ในการเจรจาระหว่างไทยกัมพูชาเมื่อวันที่ 28 ก.ค. 2551 ที่ผ่านมา
ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงที่จะใช้ MoU นี้เป็นกรอบในการเจรจาเพื่อแก้ปัญหาระหว่างกัน
โดยได้นัดหมายว่าจะมีการประชุม JBC ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 18 สิงหาคม 2551
- ไทยยื่นหนังสือประท้วงกัมพูชานับร้อยฉบับกรณีเข้ามาบุกรุกดัดแปลงพื้นที่บริเวณปราสาทพระวิหาร
แต่กัมพูชาเพิกเฉย
ที่มา : http://www.parliament.go.th
4. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2554 กัมพูชาระดมยิงเข้ามาฝั่งไทย แต่ถูกทหารไทยตอบโต้อย่างหนักเช่นกัน
5. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2554 กัมพูชาทำหนังสือร้องเรียนไปยังนางมาเรีย ลุยซา ริเบโร วิออตติ
ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC)
อ้างว่ากองทัพไทยรุกรานดินแดนกัมพูชาก่อน ทั้งๆ ที่ตกลงหยุดยิงกันแล้ว
อ้างปราสาทพระวิหารที่ขึ้นเป็นมรดกโลกได้รับความเสียหาย
อ้างว่าไทยละเมิดกฎบัตรยูเอ็น-สนธิสัญญา หลายฉบับ
อ้างว่าไทยคุกคามสันติภาพและเสถียรภาพของภูมิภาค
ขอให้เรียกประชุมด่วนให้นานาชาติเข้าแทรกแซงยุติปัญหา ให้มีการหยุดยิงถาวร
6. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ผลการร่วมประชุมกับคณะมนตรีความมั่นคง 15 ประเทศ หรือ UNSC แห่งสหประชาชาติ
ให้ไทยกับกัมพูชาเจรจาทวิภาคี โดยให้ประชาคมอาเซียนเป็นพี่เลี้ยง
ส่วนเรื่องการทำข้อตกลงหยุดยิงถาวร ก็สามารถทำได้โดยให้รัฐมนตรีกลาโหมของทั้งไทยและกัมพูชามาเจรจากัน
7. วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 คำสั่งของประธานอาเซียนขอเป็นตัวกลางแก้ปัญหาข้อพาทของทั้ง 2 ประเทศ
และให้มีผู้สังเกตการณ์เข้ามาในพื้นที่เขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบ
8. วันที่ 22 เมษายน 2554 - วันที่ 29 เมษายน 2554 กัมพูชาระดมยิงเข้ามาฝั่งไทย และ ไทยตอบโต้อย่างหนักเช่นกัน
กัมพูชาทำหนังสือร้องเรียนไปยังคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ หรือ UNSC กล่าวหาไทยว่า
เป็นผู้รุกราน ละเมิดข้อตกลงที่ประชุม UNSC เมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2554 ที่ผ่านมา
ละเมิดคำสั่งของประธานอาเซียน ที่พยายามเป็นตัวกลางแก้ปัญหาข้อพาทของทั้ง 2 ประเทศ เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2554 ด้วย
การพยายามในการเรียกร้องเจรจาทวิภาคีของไทย นั้น เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งสิ้น
เมื่อสบโอกาสก็ใช้กำลังเข้ารุกรานกัมพูชา ตลอดเวลา
เนื้อหาในจดหมายยืนยันว่า กัมพูชา
- ได้พยายามยับยั้งชั่งใจในการตอบโต้การรุกรานของไทย
- พยายามที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงแล้ว แต่ก็ต้องขอสงวนสิทธิ์ในการตอบโต้ เพื่อรักษาอธิปไตย
9. วันที่ 29 เมษายน 2554 กัมพูชายื่นฟ้องไทยต่อศาลโลกใน 2 ประเด็น คือ
- ขอให้ “ตีความ” คำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อปี ๒๕๐๕
ในเรื่องขอบเขตพื้นที่โดยรอบตัวปราสาทว่ากินบริเวณแค่ไหน
- ขอให้กำหนดมาตราการคุ้มครองชั่วคราว
โดยขอให้ไทยถอนทหารออกจากบริเวณเขาพระวิหารและบริเวณโดยรอบโดยไม่มีเงื่อนไข
10. ความเห็นของ ศาสตราจารย์ ดร.สมปอง สุจริตกุล เรื่อง ไทยต้องไม่ยอมรับเขตอำนาจของศาลโลก หรือ
ต้องบอกว่า ศาลโลกไม่มีอำนาจพิจารณาคดีในเรื่องนี้ รายละเอียดอ่านได้ที่นี่ครับ
http://www.15thmove.net/article/icj-prasat-phra-viharn-after-may30-31-sompong/
11. ศาลโลกรับพิจารณคดีนี้ โดยคณะผู้พิพากษาประจำศาลมี 15 ท่าน +
+ ผู้พิพากษาสมทบที่แต่งตั้งโดยกัมพูชา 1 ท่าน เป็นชาวฝรั่งเศษ +
+ ผู้พิพากษาสมทบที่แต่งตั้งโดยฝ่ายไทย 1 ท่าน เป็นชาวฝรั่งเศษ
ต่อมามีผู้พิพากษาประจำศาลชาวเม็กซิโกถอนตัวจากคดีนี้ไป 1 ท่าน
จึงเหลือคณะผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีนี้ทั้งหมด 16 ท่าน รายละเอียดอ่านที่นี่ ครับ
http://www.icj-cij.org/court/index.php?p1=1&p2=2&p3=1
12. รวมข้อมูลจากกระทรวงการต่างประเทศการชี้แจงของประเทศไทยต่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
เมื่อวันที่ ๓๐ – ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๔
(กรณีกัมพูชาขอให้ศาลสั่งมาตรการคุ้มครองชั่วคราวระหว่างรอตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร) รายละเอียดอ่านที่นี่ครับ
https://sites.google.com/site/verapat/temple/2011
13. ศาลโลกมีคำสั่งเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2554 : ประเด็นที่คนไทยควรรู้ รายละเอียดอ่านที่นี่ครับ
http://www.facebook.com/note.php?note_id=237340269620868
14. ไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่า ผู้พิพากษาประจำศาลโลกทั้ง 14 ท่าน + 2 ท่านที่แต่งตั้งโดยกัมพูชาและฝ่ายไทยชาติละ 1 ท่าน
รวมเป็น 16 ท่าน นั้น แต่ละท่านลงคะแนนให้ฝ่ายใดในแต่ละประเด็นด้วยเหตุผลอย่างไร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น