วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ฯ พระราชธิดาพระองค์เดียวแห่งรัชกาลที่ 6


พล เอกหญิง พลเรือเอกหญิง พลอากาศเอกหญิง สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ทรงประสูติเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวกับพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี  ประสูติ ณ พระที่นั่งเทพสถานพิลาส ในหมู่พระมหามณเฑียร พระบรมมหาราชวัง ก่อนที่สมเด็จพระบรมชนกนาถจะเสด็จสวรรคตในอีกหนึ่งวันต่อมา
พระองค์ ทรงมีพระสิริโฉมและพระจริยวัตรงดงาม พร้อมด้วยพระอัจฉริยภาพในทุกๆ ด้าน และเป็นที่เคารพเทิดทูนในหมู่ผสกนิกรของพระองค์อย่างหาที่เปรียบมิได้
พระ นาม เพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เป็นพระนามที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้า อยู่หัว พระราชทานในพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ใช้คำนำหน้าพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าภาติกา เธอ ต่อมาในรัชสมัยพระบาท สมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกคำนำหน้าพระนามเป็น สมเด็จพระเจ้า ภคินีเธอ และคำนำหน้าพระนามนี้ยังใช้จนถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรม หาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน พระองค์ทรงเป็นพระกุลเชษฐ์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ในปัจจุบัน
พระราช กรณียกิจสำคัญที่ทรงมุ่งมั่นปฏิบัติด้วยพระวิริยภาพมาโดยตลอด ที่สำคัญคือ การปฏิบัตพระราชกรณียกิจแทนองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถในโอกาสต่างๆ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอฯ ได้ทรงรับสถาบันและองค์กรต่างๆ ไว้ในพระอุปถัมภ์เป็นจำนวนกว่า 30 แห่ง
สมเด็จ พระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เวลา 16.37 น. ด้วยพระอาการติดเชื้อในกระแสพระโลหิต ณ ตึก 84 ปี โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมพระชนมายุ 85 พรรษา

ข้อมูลจาก http://blog.th.88db.com/?p=9472

วันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

คำตัดสินศาลโลกคดีเขาพระวิหาร พ.ศ.2505

คลิปย้อนอดีตคดีปราสาทเขาพระวิหาร2505

คลิปคำสั่งชั่วคราวศาลโลกกรณีเขาพระวิหาร 2554

คำสั่งศาลโลก

ศาลโลก สั่งทั้งไทย - เขมร ถอนทหารพ้นพื้นที่พิพาท
ศาล กรุงเฮก ของสหประชาชาติ ได้มีคำสั่งพิพากษาให้ไทยและกัมพูชาถอนทหารออกจากเขาพระวิหารทั้งสองฝ่าย จากพื้นที่ขัดแย้งรอบเขาพระวิหาร บริเวณพรมแดนไทยและกัมพูชา 
โดย กำหนดให้เป็นพื้นที่พิพาทเป็นเขตปลอดทหาร และเรียกร้องให้ฝ่ายไทยและกัมพูชาเปิดโต๊ะเจรจาขจัดข้อขัดแย้งระหว่างกัน นอกจากนี้ ศาลยังสั่งให้ไทยและกัมพูชายอมให้เจ้าหน้าที่สังเกตการณ์จากอาเซียนเข้าไป สังเกตการณ์พื้นที่ขัดแย้งดังกล่าวด้วย


ข้อมูลโดย :    

วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี จะตรงกับวันสำคัญทางพุทธศาสนาอีกหนึ่งวัน นั่นคือ "วันอาสาฬหบูชา" ซึ่งในปี พ.ศ.2554 นี้ วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม และวันเข้าพรรษา ตรงกับวันที่ 16 กรกฎาคม 

          ทั้งนี้ คำว่า "อาสาฬหบูชา" สามารถอ่านได้ 2 แบบ คือ อา-สาน-หะ-บู-ชา หรือ อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา ซึ่งจะประกอบด้วยคำ 2 คำ คือ อาสาฬห ที่แปลว่า เดือน 8 ทางจันทรคติ กับคำว่า บูชา ที่แปลว่า การบูชา เมื่อนำมารวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน 8 หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน 8

          วันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก หลังจากตรัสรู้ได้ 2 เดือน   โดยแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี แคว้นมคธ จน พระอัญญาโกณฑัญญะ ได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่า วันนี้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์ครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช 45 ปี
          ทั้งนี้ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปัจจวัคคีย์ทั้ง 5 เรียกว่า  "ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร" แปล ว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม ซึ่งหลังจากปฐมเทศนา หรือเทศนากัณฑ์แรกที่พระองค์ทรงแสดงจบลง พระอัญญาโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นพระโสดาบัน จึงขออุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" พระโกณฑัญญะจึงได้เป็น พระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา ต่อมา พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม และได้อุปสมบทตามลำดับ

          สำหรับใจความสำคัญของการปฐมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ 
    1. มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด 2 อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ

           การหมกมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่าเป็นการหลงเพลิดเพลินหมกมุ่นในกามสุข หรือกามสุขัลลิกานุโยค

           การสร้างความลำบากแก่ตน ดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น ซึ่งการดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

          ดัง นั้น เพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ 8 ได้แก่      
           1. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง

           2. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม

           3. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต

           4. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต

           5. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต

           6. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี

           7. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด

           8. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

    2. อริยสัจ 4 แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่     
           1. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด 
   
           2. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่นๆ 
   
           3. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา 

           4. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา

           พิธีกรรมโดยทั่วไปที่นิยมกระทำในวันนี้ คือ การทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา และสวดมนต์ ในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยเรา
ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในยุคที่ค่าครองชีพถีบ ตัวสูงขึ้นอย่างนี้...






  "เข้าพรรษา" ที่แปลว่า "พักฝน" คือ วันที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือน ตามพระธรรมวินัยบัญญัติ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่นซึ่งจะเรียกกันว่า "จำพรรษา" โดยคำว่า "จำ" แปลว่า "อยู่" ส่วนคำว่า "พรรษา" แปลว่า "ฤดูฝน" จะเริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนมาสิ้นสุดในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ซึ่งสามารถแบ่งการเข้าพรรษาได้เป็น 2 ประเภท
          1. ปุริมพรรษา คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐิน ซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12

          2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกล หรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

          ส่วนสาเหตุของวันเข้าพรรษานั้นเกิดจาก ในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์อยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตามที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ซึ่งการไม่หยุดพักแม้กระทั่งในฤดูฝน จึงทำให้เกิดเสียงติเตียนจากชาวบ้านว่าอาจจะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าและพืช พันธุ์อื่นๆ ของชาวบ้านจนเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินเข้าได้ เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน ซึ่งพระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในช่วงเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสาง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น "ขาดพรรษา"

          แต่ หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน ซึ่งจะเรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่นกรณีดังต่อไปนี้

           1. เมื่อทายกหรือทายิกา ปราถนาจะบำเพ็ญกุศล เมื่อมานิมนต์ก็ให้ไปเพื่อรักษาศรัทธาได้ 
           2. ถ้าสงฆ์ ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งเกิดอธิกรณ์ขึ้น ก็ให้ไปเพื่อระงับอธิกรณ์ได้ 
           3. ถ้าบิดา มารดา ญาติ พี่น้อง พระอุปัชฌาย์ อาจารย์ เป็นไข้ เมื่อทราบก็ให้ไปได้ 
           4. พระวิหารในที่แห่งอื่นเกิดชำรุดเสียหาย ให้ไปหาสิ่งของเพื่อมาปฏิสังขรพระวิหารนั้นได้ 
           5. เมื่อถูกสัตว์ร้ายรบกวน ถูกโจรปล้น พระวิหารถูกไฟไหม้ หรือถูกน้ำท่วม ก็ให้ไปจากที่นั้นได้ 
           6. เมื่อชาวบ้านถูกโจรปล้น อพยพหนีไป ก็ให้ไปกับพวกชาวบ้านได้ โดยให้ไปกับชาวบ้านที่มีความเลื่อมใสศรัทธาสามารถที่จะให้ความอุปถัมภ์ได้ 
           7. เมื่อที่ใดเกิดความขาดแคลน อาหารหรือยารักษาโรค ขาดผู้อุปถัมภ์บำรุง ได้รับความลำบากก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
           8. ถ้าหากมีผู้เอาทรัพย์มาล่อ ก็อนุญาตให้ไปจากที่นั้นได้ 
           9. หากภิกษุสงฆ์หรือภิกษุณีสงฆ์แตกกัน หรือมีผู้พยายามจะให้แตกกัน ถ้าการไปจากที่นั้นสามารถระงับการแตกกันได้ ก็อนุญาตให้ไปได้

          อีกทั้งในวันเข้าพรรษานั้นถือว่าเป็นกรณียกิจพิเศษสำหรับพระภิกษุสงฆ์ โดยจะมีการประชุมกันในพระอุโบสถ ไหว้พระสวดมนต์ ขอขมาซึ่งกันและกัน เสร็จแล้วก็ประกอบพิธีเข้าพรรษา ภิกษุจะอธิษฐานในใจตนเองว่าตลอดฤดูกาลเข้าพรรษานี้ตนเองจะไม่ไปไหน ด้วยการเปล่งวาจาว่า

          อิมสฺมึ อาวาเส อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ หรือว่า อิมสฺมึ วิหาเร อิมํ เตมาสํ วสฺสํ อุเปมิ ที่แปลว่า ข้าพเจ้าขออยู่จำพรรษาตลอด 3 เดือน ในอาวาสนี้หรือในวิหารนี้ โดยจะกล่าวทั้งหมด 3 ครั้ง

          หลังจากเสร็จพิธีเข้าพรรษาแล้วก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปนมัสการปูชนียวัตถุที่สำคัญในอาวาสนั้น วันต่อมาก็นำดอกไม้ ธูป เทียน ไปขอขมาพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และพระเถระที่ตนเคารพนับถือ

          ซึ่ง ระหว่างที่ภิกษุจำพรรษานั้นตามพุทธานุญาตให้สิ่งของที่ประจำตัวได้มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้นกว่าที่พระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านที่ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า "ผ้าอาบน้ำฝน" เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญที่สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
          โดยการเข้าพรรษานั้นมีประโยชน์ ดังนี้

           1. ช่วง เข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
           2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
           3. เป็น เวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
           4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
           5. เพื่อ ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

          แม้ว่าการเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่สำหรับพุทธศาสนิกชนนั้นก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส โดยในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวันพุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะ เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน เครื่องใช้อย่าง สบู่ ยาสีฟัน มาถวายพระภิกษุ สามเณร ที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาด, ซ่อมแซม กุฏิหรือวิหาร เมื่อถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาศีลกันที่วัด ไม่ว่าจะเป็นศีลห้าหรือศีลแปดก็ตาม โดยบางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เช่น งดสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น

          กิจกรรม ที่ขาดไม่ได้ก็คงจะเป็นประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา ซึ่งเป็นประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ฤดูเข้าพรรษาของทุกปี เพราะในระยะเข้าพรรษานี้เป็นช่วงเวลาที่พระภิกษุจะต้องอยู่ประจำวัดตลอด 3 เดือน โดยพระภิกษุจะต้องมีการสวดมนต์ทำวัตรทุกเช้าและเย็น จึงจะต้องมีการใช้ธูป เทียน เพื่อจุดบูชา พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาให้พระภิกษุ อีกทั้งยังเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งเพราะเชื่อกันว่าเป็นการให้ทานด้วยแสงสว่าง จะมีอานิสงฆ์เพิ่มพูนปัญญาทำให้หูตาสว่าง
          ตามชนบทนั้นการหล่อเทียนเข้าพรรษาจะทำกันเอิกเกริกและเป็นที่สนุกสนาน เมื่อหล่อเสร็จแล้วก็จะมีการแห่รอบพระอุโบสถ 3 รอบ แล้วนำไปบูชาพระตลอดระยะเวลา 3 เดือน บางแห่งก็มีการประกวดตกแต่งเทียนพรรษาหรือการแห่รอบเมืองด้วยริ้วขบวนที่สวย งาม

          ซึ่งหากใครยังไม่เคย เข้าวัดไปทำกิจกรรมในวันเข้าพรรษา เราขอแนะนำให้ไปลองดู เพราะนอกจากจะได้ทำบุญแล้ว ยังจะช่วยชำระล้างจิตใจของคุณให้ปลอดโปร่ง เพื่อพร้อมผชิญกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามาได้อีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

7 ปีทำบัตรประจำตัวประชาชนเริ่มบังคับ 9 ก.ค. 2554

เตือนพ่อแม่พาลูกอายุ 7 ปี ไปทำบัตรประชาชน กฎหมายบังคับใช้ 9 ก.ค. นี้

วันที่ 11 พ.ค. 2554 ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่พระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2554 โดยกฎหมายฉบับนี้จะมีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 9 กรกฎาคม 2554 )
       สาระสำคัญของกฎหมายคือ การกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่เจ็ดปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกินเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้านต้องมีบัตรตามที่กำหนดในพระราชบัญญัตินี้
       ทั้งนี้ บัตรให้ใช้ได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุแปดปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตรที่ ถึงกำหนดภายหลังจากวันออกบัตร
        บัตรที่ยังไม่หมดอายุในวันที่ผู้ถือบัตรมีอายุครบเจ็ดสิบปีบริบูรณ์ ให้ใช้บัตรนั้นต่อไปได้ตลอดชีวิต
        สำหรับอัตราค่าธรรมเนียม
(1) การออกบัตร ฉบับละ 100 บาท
(2) การออกใบแทนใบรับ ฉบับละ 10 บาท
(3) การขอคัดและรับรองสำเนาข้อมูลเกี่ยวกับบัตร ฉบับละ 10 บาท
        เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่เป็นการสมควรกำหนดให้ผู้มีสัญชาติไทย ทุกคนต้องมีบัตรประจำตัวประชาชนไว้ใช้แสดงตนเพื่อประโยชน์ในการเข้ารับบริการสาธารณะของรัฐ จึงได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์และวิธีการการออกบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อให้สอดคล้องกับการที่รัฐจะนำ เทคโนโลยีมาใช้ในการบริการประชาชนในด้านต่าง ๆ ผ่านทางบัตรประจำตัวประชาชน เพื่อประโยชน์ของผู้ถือบัตรประจำตัวประชาชน
        ก่อนหน้านี้มีเสียงจากสภาแว่วมาดังๆ ว่า ได้มีการพิจารณารับร่าง พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เนื้อความสำคัญของร่าง พ.ร.บ. นี้ คือจะแก้กฎหมายให้เด็กที่เกิดมามีอายุครบ 1 ปี นับแต่วันเกิด หรือ 60 วัน นับแต่วันได้สัญชาติไทย สำหรับผู้ไม่ได้สัญชาติไทยโดยการเกิดหรือได้กลับคืนสัญชาติไทยตามกฎหมายว่า ด้วยสัญชาติ ต้องมีบัตรประชาชน นอกจากนั้นยังระบุด้วยว่า ให้ใช้บัตรนั้นได้นับแต่วันออกบัตรและมีอายุ 10 ปีนับแต่วันเกิดของผู้ถือบัตร รวมทั้งตัดเงื่อนไขการมีชื่อในทะเบียนบ้านออก
      ท้ายที่สุดที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้ลงมติให้ความเห็นชอบด้วยคะแนนเสียง 222 ต่อ 81 เสียง งดออกเสียง 5 และไม่ลงคะแนน 13 เสียง
      นั่นแสดงว่าหากแก้กฎหมายใหม่นี้สำเร็จ เด็กที่มีอายุไม่ถึง 15 ปี ต้องเดินหน้าเข้าคิวไปทำบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งมีค่าธรรมเนียมทำบัตรอยู่ ที่ 60 บาท และหากเด็กคนใดไม่ไปทำบัตรผู้ปกครองก็จะถูกปรับเงิน 500 บาท นั่นคือกฎเกณฑ์บังคับเบื้องต้น
        บัตรเด็กนี้อาจจะแตกต่างออกไป เพราะนอกจากจะมีรายการตามที่กำหนดไว้แล้ว อาจจะมีหน่วยความจำ เพื่อบันทึกข้อมูลอื่นของผู้ถือบัตรด้วย แต่ข้อมูลที่บันทึกไว้ในหน่วยความจำดังกล่าว ต้องไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลหรือหน่วยงาน ซึ่งไม่ใช่เป็นผู้จัดทำ หรือรวบรวมข้อมูลนั้น ๆ ไว้ เว้นแต่เป็นข้อมูลทั่วไปที่ปรากฏอยู่บนบัตร หรือเป็นการเปิดเผยต่อหน่วยงานที่มีความจำเป็นต้องทราบข้อมูลนั้นเท่าที่จำเป็น เพื่อเป็นประโยชน์ของผู้ถือบัตร และระบุระยะเวลาการบังคับใช้ในวาระเริ่มแรก แต่ไม่เกิน 2 ปี นับแต่ พ.ร.บ.ฉบับนี้ บังคับใช้
          เมื่อข่าวนี้แพร่งพรายออกไป ต่างมีคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หลายคนออกมาค้านว่าจะเกิดช่องโหว่ให้มิจฉาชีพอาศัยช่องทางสวมสิทธิทำบัตรประชาชนปลอมได้ง่าย เพราะไม่ต้องมีหลักฐานในทะเบียนบ้าน รวมถึงกรณีที่เด็กเล็กอายุ 1 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างหน้าตาไปมาก และหากมีปัญหาสุดท้ายก็ต้องให้พ่อแม่ผู้ปกครองมารับรองอยู่ดี จึงน่าจะยึดสูติบัตรตามเดิมจะได้ไม่เสียงบประมาณเพิ่มขึ้น ทั้งงบประมาณส่วนตัวหรืองบประมาณส่วนกลางด้วย
          แม้แต่บัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ดของคนอายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ยังเกิดปัญหาถกเถียงกันยังไม่มีข้อสรุป กระทรวงมหาดไทยหัวหอกสำคัญของเรื่องนี้ยังจะเพิ่มภาระหน้าที่ให้กับตัวเอง และสังคมไปอีกหรือ การเกิดของบัตรประจำตัวประชาชนเด็กจะส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตของใคร อย่างไรกันบ้าง
          วัลลภ ตั้งคณานุรักษ์ หรือ ครูหยุย กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิสร้างสรรค์เด็ก ที่มีต่อการเกิดของบัตรประจำตัวประชาชนเด็ก เขาแสดงความคิดเห็นในฐานะผู้ที่ทำงานข้องเกี่ยวกับเด็กมาเนิ่นนานว่า ไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำ และหากเกิดขึ้นจริงก็สามารถใช้ประโยชน์ได้ แต่ก็จะเป็นปัญหาตามมาเช่นกัน เนื่องจากเด็กวัยนี้ตามปกติก็จะมีอัตราการเสียชีวิตเยอะอยู่แล้ว อัตราการตายของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปี อยู่ที่ปีละประมาณแสนคน
        “พอมีการตายเกิดขึ้นก็จะมีการสวมรอยของพวกมิจฉาชีพในการไปสวมชื่อได้ง่าย แล้วงบประมาณที่เอาไปใช้ทำบัตรจะจำนวนเท่าไหร่ จะคุ้มกันไหมจึงไม่มีความจำเป็นเลย ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร เพราะรูปแบบเดิมก็ใช้ได้ดีอยู่แล้ว เมื่อทำแล้วใครจะไปพกให้เด็กก็ต้องเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ดี ทำแล้วเป็นระบบออนไลน์หรือเปล่า ซึ่งเอกสารที่เรามีอยู่ก็ออนไลน์อยู่แล้ว หากอ้างเพื่อการรักษาพยาบาลเพราะมีเลข 13 หลัก ซึ่งใบเกิดก็มีเลข 13 หลักได้มันไม่ได้มีประโยชน์มากกว่าเดิม แต่จะเป็นการเปลืองทรัพยากรมากกว่า ทำแล้วคุ้มก็ดีแต่มองว่าตอนนี้ถึงทำไปก็ไม่คุ้ม”
           ครูหยุยแสดงท่าทีไม่เห็นด้วยและอธิบายถึงข้อมูลพื้นฐานและความสำคัญของสูติบัตรให้ฟังว่า โดยปกติเด็กทุกคนที่เกิดในประเทศไทยจะได้รับการแจ้งเกิด ส่วนเรื่องที่ว่าเด็กคนนั้นจะเป็นไทยหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง ตามกฎหมายเมื่อเด็กเกิดมาก็จะมีใบเกิดหรือสูติบัตรออกมาให้อยู่แล้ว
            “มีสูติบัตรก็เพื่อบอกว่า เด็กคนนี้เป็นคนไทย ชื่อนี้มีแม่เป็นญวน ใบรับแจ้งเกิดเราก็ใช้กันมาตลอด พอถึงเวลาก็เอาสูติบัตรไปเข้าชื่อในทะเบียนบ้าน และพอถึงอายุเข้าวัยเรียนคือ 6 ขวบ ก็จะมีจดหมายจากเขตหรืออำเภอบอกว่าลูกของบ้านนี้อยู่ในวัยเรียนแล้วต้องไป เรียน เพราะกฎหมายการศึกษาภาคบังคับบอกว่าถ้าไม่มาเรียนจะผิดกฎหมาย ซึ่งประโยชน์มันก็ใช้ได้เหมือนกัน”
         หลังจาก ทิพย์สุดา (ขอสงวนนามสกุล) คุณแม่มือใหม่เมื่อได้ฟังแนวคิดบัตรประชาชนเด็ก ก็ถึงกับส่ายหัวในทันใดเพราะเป็นการเพิ่มภาระมากขึ้นสำหรับเธอ
         “แค่นี้ก็ปวดหัวมากแล้วนะ ไหนจะเลี้ยงลูก ไหนจะต้องจัดการเอกสาร ทำงานหาเงิน ถ้าครอบครัวที่เขาพร้อมก็คงจะโอเค ไม่น่ามีปัญหาอะไร แต่กับครอบครัวที่มีลูกในช่วงเวลาไม่พร้อมอย่างเรา การที่ต้องมานั่งศึกษา มารักษาสิทธิให้ลูกตัวเองเพิ่มอีก มันยิ่งเหนื่อยนะ แล้วก็ไม่รู้จะทำไปทำไม เด็กในวัยนี้แป๊บๆ เดี๋ยวก็โตแล้ว แล้วบัตรเด็กก็พกเองไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องพ่อแม่ดูแลรับผิดชอบนั่นแหละ” ทิพย์สุดาร่ายยาว
          ไม่ต่างกับหนุ่มน้อยที่เพิ่งเปลี่ยนคำนำหน้านามจากเด็กชายมาเป็น 'นาย' ครั้งแรกอย่าง ณัฐพล แซ่ตั้ง ที่เพิ่งถอยบัตรประชาชนมาหมาดๆ ก็รู้สึกไม่ค่อยเห็นด้วยนักกับกฎเกณฑ์ใหม่นี้
          “จะมีไปทำไมครับเด็กขนาดนั้น คือบัตรนี่มันทำให้คนรู้ว่าเราโตขึ้นมาอีกขั้นนึง เป็นนายแล้ว ต้องทำอะไรเอง มีความรับผิดชอบเองมากขึ้นแต่เด็ก 1 ขวบ จะเอาไปใช้อะไรครับ ยังจำความไม่ได้เลย”

แหล่งที่มา : มติชนออนไลน์  : 12-05-2554 09:28 น.

วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ภาพกราฟฟิกผลการเลือกตั้งทั่วประเทศ




























พรรคร่วมรัฐบาล  6 พรรครวมกันจัดตั้งรัฐบาลจะมีจำนวน ส.ส.ทั้งสิ้น 300 ที่นั่ง แบ่งเป็น
    พรรคเพื่อไทย 262 ที่นั่ง 
    พรรคชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง 
    พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 9 ที่นั่ง 
    พรรคพลังชล 7 ที่นั่ง
    พรรคมหาชน  1  ที่นั่ง 
    และพรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
       ส่วนนายกรัฐมนตรี ก็คือยิ่งลักษณ์  ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีลำดับที่ 28
ของคณะรัฐมนตรีชุดที่ 60 ของประเทศไทย


 นายยงยุทธ  วิชัยดิษฐ์
หัวหน้าพรรคเพื่อไทย





    นายแพทย์วรรณรัตน์  ชาญนุกูล
 หัวหน้าพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน







นายชุมพล  ศิลปอาชา
หัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา





รองศาสตราจารย์เชาวน์  มณีวงษ์
หัวหน้าพรรคพลังชล








  นายอภิรัต ศิรินาวิน
 หัวหน้าพรรคมหาชน







 นายสุรทิน  พิจารณ์
 หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่


พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้คะแนนรับเลือกตั้ง ทั้งหมด 112,942 คะแนน โดยที่นาง พัชรินทร์ มั่นปาน อดีตครูโรงเรียนบดินทรเดชา 4 ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 2 ได้กลายเป็นว่าที่ ส.ส.ภายหลังจากนายสุรทิน พิจารณ์ ผู้สมัครส.ส.แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 ถูกตัดสิทธิ์ห้ามลงเลือกตั้ง เนื่องจากมีสถานะล้มละลาย