วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2554


ไทยถอนตัวออกจากภาคีมรดกโลกแล้ว

นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจามรดกโลกไทย ได้โพสข้อความผ่านทวิตเตอร์ หลังร่วมประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ว่า
ที่ประชุมบรรจุวาระ ผมไม่มีทางเลือกครับ คงต้องถอนตัวทผมได้เคยพูดกับสื่อไทยไปว่า หากสังคมใดดำเนินการตามใจตนเอง ไม่คิดถึงกฏระเบียบที่ลงมติโดยสมาชิกแล้ว ก็ไม่มีประโยชน์ใดๆที่เราจะอยู่ในสังคมแบบนี้ทกำลังแถลงต่อที่ประชุมครับ คณะผู้แทนพยายามเข้าใจ อธิบาย และอดทนรออย่างเต็มที่แล้วท ผมและคณะนำประเทศไทยถอนตัวจากการเป็นสมาชิกมรดกโลกแล้วครับ

คกก.มรดกโลกนำวาระเขาพระวิหารเข้าที่ประชุม จึงเป็นที่มาของการถอนตัวของไทยออกจากกรรมการและสมาชิกภาคีอนุสัญญา ทั้งนี้ นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เรื่องดังกล่าวนายอภิสิทธิ์ เวชชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายกษิต ภิรมย์ รมว.ต่างประเทศ ได้รับทราบแล้ว อย่างไรก็ตามในเบื้องต้นยังไม่ได้พูดคุยกับนายกรัฐมนตรีว่าจะมีการแถลงข่าวอย่างเป็นทางการหรือไม่
ส่วนผลกระทบบริเวณชายแดนนั้นก็ต้องดำเนินการผ่านกรอบที่มีอยู่แล้วไม่ว่าจะเป็นการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) หรือ การประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไปไทย-กัมพูชา (จีบีซี ) ทั้งนี้ยืนยันว่าทางทหารไทยพร้อมที่จะปกป้องอธิปไตยของชาติอยู่แล้ว
ส่วนหลังไทยถอนตัวจากภาคี คกก.มรดกโลก ไทยคงไม่สามารถขึ้นทะเบียนมรดกโลกที่อื่นได้อีก ที่ขึ้นทะเบียนแล้วก็ยังคงอยู่ต่อไป


ข้อมูลจาก Mthai news

เหตุผลใดไทย จึงแพ้คดีปราสาทพระวิหาร

วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

กิจกรรมสังคมสู่อาเซียน ในงานมหัศจรรย์โรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ เปิดประตูสู่อาเซียนของกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
        
                                 โลกศึกษา ทำไมต้องโลกศึกษา
                         (คลิกแล้วคลิกบันทึกแฟ้มหรือคลิกเปิดด้วย)

วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“ไพฑูรย์” หวังไทยขึ้นแท่นความเป็นพลโลก จี้ทบทวนตำราใหม่ เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ไทย-เทศ

รองอธิการฯ มธบ. แนะ หนุนเสริมความรู้ให้กับเด็ก หวั่นเดินตามกระแสชาติตะวันตกมากเกินไป ขณะที่ “วรากรณ์” ชี้ พลเมืองในระบอบ ปชต. ต้องรู้จักพึ่งตนเอง เคารพสิทธิ์-กติกา-ความคิดเห็นที่แตกต่าง
วันที่ 19 พฤษภาคม เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลาง เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง “บทบาทของวิชาศึกษาทั่วไปในการสร้างพลโลก” ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
        รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงคุณลักษณะของพลโลกที่มีประสิทธิภาพในศตวรรษที่ 21 ว่า จะต้องเริ่มต้นจากความเป็นพลเมือง ซึ่งตามระบอบประชาธิปไตย พลเมืองจะต้องมีอิสรภาพ พึ่งตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น เคารพกติกา เคารพความแตกต่างและหลักการเสมอภาค รวมทั้งมีความรับผิดชอบต่อสังคม แต่เมื่อเข้าสู่ยุคโลกาภิวัตน์ ผู้คนถูกเชื่อมต่อกันด้วยเทคโนโลยี การขยายตัวของเศรษฐกิจ กระทั่งกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกรับผิดชอบต่อโลกร่วมกันของมวลมนุษย์ และนั่นถือเป็นหัวใจสำคัญของความเป็นพลเมืองโลก
      สำหรับการพัฒนาความเป็นพลเมืองโลกนั้น รศ.ดร.วรากรณ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยจะต้องสอนนักศึกษา พัฒนาบัณฑิตให้มีความเป็นพลเมืองโลก โดยมีคุณลักษณะของความเป็นพลเมืองของประเทศ ควบคู่ไปกับความรู้สึกห่วงใย ผูกพันต่อเพื่อนมนุษย์และโลก มีความรับผิดชอบ รวมทั้งมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์โลก ซึ่งความเป็นพลเมืองโลกดังกล่าว จะต้องเกิดจากการเรียนการสอน ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ เพราะการสอนอย่างเดียว ไม่นานก็ลืม แต่ประสบการณ์การเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติ จะจดจำไปตลอดชีวิต
ขณะที่ ศ.ดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มธบ.กล่าวถึงบทบาทของวิชาศึกษาทั่วไปในการสร้างพลเมืองโลกว่า การเรียนรู้เรื่องความเป็นพลเมืองโลกจะต้องมองในมิติที่กว้างขวางและเริ่มทำ อย่างจริงจัง โดยเรียนรู้และเข้าใจปัญหาของโลก มีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการของโลกอย่างวิเคราะห์วิจารณ์ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เด็กๆ รู้ว่า โลกที่อยู่เป็นไปอย่างไร เพื่อจะได้ตามทันโลก มีทักษะและมีความสามารถที่จะอยู่กับโลกได้
      “การที่จะรู้จักโลกต้องมีความรู้ ความคิด เพื่อให้เห็นความเปลี่ยนแปลงว่า เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกมีความเชื่อมโยงกันอย่างมาก แต่กลับพบว่า ไม่มีรายวิชาที่เปิดสอนในเรื่องดังกล่าว ดังนั้น ควรจะมีการทบทวนวิชาศึกษาทั่วไปใหม่หรือไม่ เพื่อให้เด็กตามทันโลกอย่างมีความคิด เสรีภาพและค่านิยมที่ไม่ใช่ในลักษณะของการติดตาม หมุนหรือเดินไปตามกระแสของความเป็นตะวันตกตลอดเวลา”
ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวต่อว่า วิชาศึกษาทั่วไปเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองโลกในบ้านเรา น่าจะต้องก้าวไปไกลอีกขั้นหนึ่ง เพื่อฉีกแนวและแหวกวงล้อมของกระแสโลกออกไปให้ได้ ขณะเดียวกันวิชาศึกษาดังกล่าว จะต้องเป็นไปในเชิงบวก ตามแนวทางของ ‘KTPL’ นั่น คือ ความรู้ (Knowledge) จะต้องเพิ่มเติมในส่วนของกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับระเบียบการเมืองของโลก ว่า มีการครอบงำ (dominate) จากกลุ่มประเทศใดประเทศหนึ่ง

     “โอซามา บินลาเดน, มูอัมมาร์ กัดดาฟี, ซัดดัม ฮุดเซน รวมทั้งประเทศเกาหลีเหนือถูกทำให้เห็นว่าเป็น ‘คนเลวของโลก’ แต่ในทางกลับกันก็พบว่า มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากจากการที่ชาติพันธมิตรเข้าปฏิบัติการณ์ในประเทศ ลิเบีย อิรัก หรือในกรณีบินลาเดน มุมหนึ่งอาจถูกมองเป็นผู้ร้าย แต่อีกมุมหนึ่งกลับเป็นเทวดาของใครหลายคน ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าให้เราต่อต้านชาติตะวันตก เพียงแต่ต้องการให้เห็นถึงความแตกต่างหลากหลายที่มีอยู่ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในความเป็นพลเมืองโลกอย่างลึกซึ้ง”
ขณะที่การคิดวิเคราะห์หาเหตุผล (Thinking) ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวว่า จะต้องให้ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากในปัจจุบันพบว่า เด็กส่วนใหญ่จะมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เดินตามกระแส หรือเดินตามเส้นทางที่ถูกขีดไว้เท่านั้น ดังนั้น หากต้องการสร้างความเป็นพลเมืองโลกจะต้องมีการปรับวิธีคิดดังกล่าว ส่วนการสร้างสิ่งใหม่ (Production) ในบ้านเราพบว่ามีไม่มากนัก เนื่องจากไทยเป็นสังคมแหล่งการบริโภค ไม่นิยมในการผลิตหรือสร้างสิ่งใหม่ๆ แต่ขณะเดียวกันต้องยอมรับว่าประเทศเกาหลีพัฒนาได้ก็เพราะแนวคิดเรื่องการ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่ไม่ใช่แค่การกิน หรือใช้เท่านั้น แต่นั่นหมายถึงสติปัญญาและความรู้ สุดท้ายการสร้างภาวะความเป็นผู้นำ (Leadership) จะต้องสอนให้เด็กมองความรับผิดชอบว่าเป็นภาวะของผู้นำ
ทั้งนี้ ศ.ดร.ไพฑูรย์ กล่าวด้วยว่า การศึกษาที่จะช่วยสร้างพลเมืองที่มีคุณค่าและมีความหมาย จะต้องสอนโดยให้ความรู้เข้าใจว่า สภาพการณ์ของโลกมีที่มาที่ไปอย่างไร มีผลกระทบอย่างไร โดยสอนประวัติศาสตร์อย่างวิเคราะห์วิจารณ์ เชื่อมโยงประวัติศาสตร์ของไทยเข้ากับประวัติศาสตร์ของโลก หากต้องการความเป็นพลโลก ไม่ใช่แค่ตามกระแสทัน

ข้อมูลจาก http://www.reform.or.th/news/665