หน้าเว็บ
- หน้าแรก
- บุคลากร
- กิจกรรมของกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
- สื่อการเรียนการสอน
- สื่อและมวลความรู้เกี่ยวกับโลกศึกษา
- ASEAN
- ผลงานทางวิชาการ
- กระดานข่าว
- ก้าวทันข่าวของชาวโลก
- ปฏิทินกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ
- ครูอบรม/ศึกษาดูงาน
- องค์กรความร่วมมือทางเศรษฐกิจของโลก
- แบบทดสอบ 8 กลุ่มสาระ
- บทเรียนออนไลน์ "ภาวะโลกร้อน"
- รวมสื่อการเรียนการสอน
- เว็บไซต์สื่อการเรียนออนไลน์
- krutube
- ดูที่วีออนไลน์
- อุกกาบาตถล่มรัสเซีย 15 กพ. 2556
- คดีเขาพระวิหาร
- สมุดเยี่ยม
- คลังรูปภาพหมวดสังคม
- กิจกรรมไหว้ครูประจำปีการศึกษา 2556
วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556
วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556
การใช้ Tablet และ Ipad เพื่อการสอนในชั้นเรียน
สอนอย่างไร อยากจะเล่าให้เพื่อนพ้องพี่น้องครูได้รับฟังนะครับ คือในปัจจุบันนี้มีเทคโนโลยีใหม่ ๆออกกันมามากมาย เราสามารถนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้ เอาเป็นเราว่าเคยสร้างสื่อการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม Powerpoint, E-book เริ่มจาก FlipPubliser,flip Album,Desktop Author,E-learning Moodle,Lecture Maker ฯ ต่อมาก็ใช้ Blogger ในการสร้างสื่อการสอน ทำเอาไว้หลายblog แต่ว่าถามว่าแต่ละBlog ครบถ้วนสมบูรณ์หรือไม่ ก็ตอบว่ายังไม่สมบูรณ์ครับ แต่กะว่าจะพัฒนาให้สมบูรณ์ต่อไปเรื่อย ๆ อีกทั้งได้เข้าเป็นสมาชิกของ http://www.exam.in.th ในการสร้างข้อสอบออนไลน์ ไว้ให้นักเรียนเข้าทำแบบทดสอบผ่านอินเตอร์เน็ต ซึ่งยังใช้อยู่ในขณะนี้
แต่ในที่สุด...ก็ทนการยั่วยุจาก เจ้าtablet หรือ ipad ไม่ไหวอดใจไว้ไม่ได้ ตัดสินใจซื้อ ipad มาใช้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เป้าหมายสำคัญคือ จะต้องนำipad เข้าไปใช้ในห้องสอน และเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์เหมือนการใช้ Notebook และแล้วก็สามารถใช้ได้ จนเกิดความสนุกต่อการใช้เจ้า ipad สำหรับการเรียนการสอนเสียแล้วครับ และอยากให้เพื่อนครูได้นำ Tablet ไปใช้ในการเรียนการสอนกันอย่างจริงจัง
สำหรับการนำโปรแกรมอะไรมาใช้ หรือใช้ app ตัวไหนบ้าง ที่แนะนำวันนี้เฉพาะ app ฟรีไม่ต้องจ่ายตังค์นะครับ
1. app Olive Office ใช้กับสื่อการสอน Powerpoint,wordและExcell ใช้ได้ดีมากครับ ที่สำคัญฟรีด้วยนะ
2. app CloudOn ใช้ในการสร้างสื่อ Powerpoint,wordและ Excell ตัวนี้ก็ใช้ดีมากครับ
3. Bamboo Paper ใช้ในการขีดเขียนสอนสด แทรกรูปภาพได้ ใช้ปากกาเขียน หรือใช้นิ้วมือขีดเขียน ได้ตามความต้องการ หน้าเพิ่มได้เรื่อย ๆ น่าใช้ดีมาก ที่สำคัญใช้ฟรีครับ ขอให้กำลังใจคุณครู โดยเฉพาะที่มี ipad หรือ Tablet อยู่แล้ว จะได้ใช้จัดการเรียนการสอนได้ด้วยจะตัวเล็ก ๆนี้ ยังมี app อื่น ๆ อีกมาก จะมาแนะนำในครั้งต่อไปครับผม
แต่ในที่สุด...ก็ทนการยั่วยุจาก เจ้าtablet หรือ ipad ไม่ไหวอดใจไว้ไม่ได้ ตัดสินใจซื้อ ipad มาใช้เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา เป้าหมายสำคัญคือ จะต้องนำipad เข้าไปใช้ในห้องสอน และเชื่อมต่อโปรเจคเตอร์เหมือนการใช้ Notebook และแล้วก็สามารถใช้ได้ จนเกิดความสนุกต่อการใช้เจ้า ipad สำหรับการเรียนการสอนเสียแล้วครับ และอยากให้เพื่อนครูได้นำ Tablet ไปใช้ในการเรียนการสอนกันอย่างจริงจัง
สำหรับการนำโปรแกรมอะไรมาใช้ หรือใช้ app ตัวไหนบ้าง ที่แนะนำวันนี้เฉพาะ app ฟรีไม่ต้องจ่ายตังค์นะครับ
1. app Olive Office ใช้กับสื่อการสอน Powerpoint,wordและExcell ใช้ได้ดีมากครับ ที่สำคัญฟรีด้วยนะ
2. app CloudOn ใช้ในการสร้างสื่อ Powerpoint,wordและ Excell ตัวนี้ก็ใช้ดีมากครับ
3. Bamboo Paper ใช้ในการขีดเขียนสอนสด แทรกรูปภาพได้ ใช้ปากกาเขียน หรือใช้นิ้วมือขีดเขียน ได้ตามความต้องการ หน้าเพิ่มได้เรื่อย ๆ น่าใช้ดีมาก ที่สำคัญใช้ฟรีครับ ขอให้กำลังใจคุณครู โดยเฉพาะที่มี ipad หรือ Tablet อยู่แล้ว จะได้ใช้จัดการเรียนการสอนได้ด้วยจะตัวเล็ก ๆนี้ ยังมี app อื่น ๆ อีกมาก จะมาแนะนำในครั้งต่อไปครับผม
วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556
ข่าวสารสำหรับครู จากเว็บครูบ้านนอกดอตคอม
21 ม.ค. 2556 (อ่าน 3360 / 0 ความเห็น)
21 ม.ค. 2556 (อ่าน 1787 / 0 ความเห็น)
21 ม.ค. 2556 (อ่าน 2911 / 0 ความเห็น)
21 ม.ค. 2556 (อ่าน 712 / 0 ความเห็น)
ข้อมูลจาก http://www.kroobannok.com/m/index.php
วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2556
วันครูแห่งชาติ 16 มกราคม 2556
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอมขอขอบคุณภาพประกอบจาก news.kku.ac.th
เดือนมกราคมวนเวียนมาถึงอีกครั้
ความหมายของครู
ครู หมายถึง ผู้สั่งสอนศิษย์ หรือ ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์ ซึ่งมีผู้กล่าวว่ามาจากคำว่า ครุ (คะ-รุ) ที่แปลว่า "หนัก" อัน หมายถึง ความรับผิดชอบในการอบรมสั่งสอนของครูนั้น นับเป็นภาระหน้าที่ที่หนักหนาสาหัสไม่น้อย กว่าคน ๆ หนึ่งจะเติบโตเป็นผู้มีวิชาความรู้ และเป็นคนดีของสังคม ผู้เป็น "ครู" จะต้องทุ่มเทแรงกายและแรงใจไม่น้อยไปกว่าพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดเลย ซึ่งในชีวิตของคน ๆ หนึ่ง นอกเหนือไปจากพ่อแม่ซึ่งเปรียบเสมือน "ครูคนแรก" ของเราแล้ว การที่เด็ก ๆ จะดำรงชีพต่อไปได้ในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมี "ครู" ที่จะประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่หนทางทำมาหากินในภายภาคหน้าด้วย ดังนั้น "ครู" จึงเป็นบุคคลสำคัญที่เราทุกคนควรจะได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตาต่อท่าน
ความสำคัญของครู
ใน ชีวิตของคนเราถือว่า บิดามารดา เป็นผู้มีพระคุณอันสูงสุด เพราะท่านเป็นผู้ให้ชีวิต ให้ความรัก ให้ความเมตตา มีความห่วงใย และเสียสละเพื่อลูก นอกจาก บิดามารดา แล้ว ก็มีครูเป็นผู้มีพระคุณคล้าย บิดามารดา คือ เป็นผู้อบรมสั่งสอนถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ รวมทั้งให้ความรัก ความเมตตาต่อศิษย์ทุกคน นับได้ว่าครูเป็นผู้เสียสละที่ไม่แพ้บุพการี
ครู จึงนับเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญอย่างมาก ในการให้การศึกษาเรียนรู้ ทั้งในด้านวิชาการ และประสบการณ์ ตลอดเป็นผู้มีความเสียสละ ดูแลเอาใจใส่ สั่งสอนอบรมให้เด็กได้พบกับแสงสว่างแห่งปัญญา อันเป็นหนทางแห่งการประกอบอาชีพเลี้ยงดูตนเอง รวมทั้งนำพาสังคมประเทศชาติ ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นวันที่ 6 ตุลาคม จึงได้เป็นวันครูสากล เพื่อคนที่เป็นครูทั่วโลกที่เสียสละนำพาเราทุก ๆ คน ไปถึงฝั่งฝันนั่นเอง
ประวัติความเป็นมา
วันครู ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สืบเนื่องมาจากการประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษาเมื่อปี พ.ศ. 2488 ซึ่งระบุให้มีสภาในกระทรวงศึกษาธิการเรียกว่า คุรุสภา เป็นนิติบุคคลให้ครูทุกคนเป็นสมาชิกคุรุสภา โดยมีหน้าที่ในเรื่องของสถาบันวิชาชีพครูในขณะเดียวกัน ก็ทำหน้าที่ให้ความเห็นเรื่องนโยบายการศึกษา และวิชาการศึกษาทั่วไปแก่กระทรวงศึกษาธิการ ควบคุมจรรยาและวินัยของครู รักษาผลประโยชน์ ส่งเสริมฐานะของครู จัดสวัสดิการให้ครู และครอบครัวได้รับความช่วยเหลือตามสมควร ส่งเสริมความรู้ และความสามัคคีของครู
ทุก ปีคุรุสภาจะจัดให้มีการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้แทนครูทั่วประเทศแถลงผลงานในรอบปีที่ผ่านมา และซักถามปัญหาข้อข้องใจต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการอำนวยการคุรุสภา เป็นผู้ตอบข้อสงสัย สถานที่ในการประชุมสมัยนั้นใช้หอประชุมสามัคคยาจารย์ หอประชุมของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และในระยะหลังใช้หอประชุมคุรุสภา
พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป.พิบูล สงคราม นายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า
"ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณเป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่า วันครู ควร มีสักวันหนนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพสักการะต่อ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง"
จาก แนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่น ๆ ที่ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึกถึงความสำคัญของครู ในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดีเพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมาก ในปีเดียวกันที่ให้มีวันครูเพี่อเสนอคณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพจารย์ ส่งเสริมความสามัคคีธรรมระหว่างครูและพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่าง ครูกับประชาชน
ด้วยเหตุนี้ คณะมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2499 ให้วันที่ 16 มกราคมของทุกปีเป็น วันครู โดยถือเอาวันที่ประกาศพระราชบัญญัติครูในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2488 เป็น วันครู และให้กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว
งานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงาน ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญ คือ หนังประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างที่เป็นถาวรวัตถุ
การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมในวันครู
เพื่อ ให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ
กิจกรรมวันครู
การ จัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ สังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
เพื่อ ให้ความรู้ความเข้าใจในบทบาท และหน้าที่ของครู ตลอดจนจรรยามารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีครู และบทบาทหน้าที่ของศิษย์ที่พึงปฏิบัติต่อครู ตลอดจนการจัดกิจรรมได้เหมาะสม และมีประสิทธภาพ
กิจกรรมวันครู
การ จัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของ สังคมตลอดเวลาในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังนี้
1. กิจกรรมทางศาสนา
2. พิธีรำลึกพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตนการกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
3. กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬา หรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น
ปัจจุบันการจัดงานวันครู ได้มีการกำหนดให้จัดพร้อมกันทั่วประเทศ
สำหรับส่วนกลางจัดที่หอประชุมคุรุสภาโดยมีคณะกรรมการจัดงานวันครู
ซึ่งมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน
ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด
สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ
โดยตั้งคณะกรรมการจัดงานวันครูขึ้นเช่นเดียวกับ
ส่วนกลางจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอ
รูป แบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป
หลัง จากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวด คำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
รูป แบบการจัดงานในส่วนกลาง (หอประชุมคุรุสภา) พิธีจะเริ่มตั้งแต่เช้า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภา คณะกรรมการอำนวยคุรุสภา คณะกรรมการการจัดงาน วันครู พร้อมด้วยครูอาจารย์และประชาชนร่วมกันใส่บาตรพระสงฆ์จำนวน 1,000 รูป
หลัง จากนั้นทุกคนที่มาร่วมงานจะเข้าร่วมพิธีในหอประชุมคุรุสภา นายกรัฐมนตรีเดินทางมาเป็นประธานในงาน ดนตรีบรรเลงเพลงมหาฤกษ์ นายกรัฐมนตรีบูชาพระรัตนตรัย ประธานสงฆ์ให้ศีล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการกล่าวรายงานต่อนายกรัฐมนตรีกล่าวนำพิธีสวด คำฉันท์รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์
จากนั้นประธานจัดงาน วันครู จะเชิญผู้ร่วมประชุมยืนสงบ 1 นาที เพื่อรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อด้วยครูอาวุโสในประจำการ ผู้นำร่วมประชุมกล่าวปฏิญาณ
คำปฏิญาณตนของครู
ข้อ 1 ข้าจะบำเพ็ญตน ให้สมกับที่ได้ชื่อว่าเป็นครู
ข้อ 2 ข้าจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ
ข้อ 3 ข้าจะรักษาชื่อเสียงของคณะครู และบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม
จาก นั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคล แล้วต่อด้วยนายกรัฐมนตรี มอบรางวัลครูดีเด่นประจำปี มอบของที่ระลึกให้ครูอาวุโสนอก และในประจำการ สุดท้ายกล่าวปราศรัยกับคณะครูที่มาประชุม
มารยาทและวินัยตามระเบียบประเพณีของครู 1. เลื่อมใสการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขด้วยความบริสุทธิ์ใจ
2. ยึดมั่นในศาสนาที่ตนนับถือ ไม่ลบหลู่ดูหมิ่นศาสนาอื่น
3. ตั้งใจสั่งสอนศิษย์และปฏิบัติหน้าที่ของตน ให้เกิดผลดีด้วยความเอาใจใส่ อุทิศเวลาของตน ให้แก่ศิษย์ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่การงานไม่ได้
4. รักษาชื่อเสียงของตนมิให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่ว ห้ามประพฤติการใด ๆ อันอาจทำให้เสื่อมเสียเกียรติและชื่อเสียงของครู
5. ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษา และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชา ซึ่งสั่งในหน้าที่การงานโดยชอบด้วยกฎหมายและระเบียบแบบแผนของสถานศึกษา
6. ถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดบังอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อ มนุษย์ชาติ
7. ให้เกียรติแก่ผู้อื่นทางวิชาการ โดยไม่นำผลงานของผู้ใดมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน และไม่เบียดบังใช้แรงงานหรือนำผลงานของผู้อื่นไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน
8. ประพฤติตนอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต และปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความเที่ยงธรรมไม่แสวงหาประโยชน์สำหรับตนเอง หรือผู้อื่นโดยมิชอบ
9. สุภาพเรียบร้อยประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ รักษาความลับของศิษย์ ของผู้ร่วมงานและของสถานศึกษา
10. รักษาความสามัคคีระหว่างครูและช่วยเหลือกันในหน้าที่การงาน
ประเทศที่มี วันครู ที่ไม่ใช่วันหยุด
- อินเดีย วันครูตรงกับวันที่ 5 กันยายน
- มาเลเซีย วันครูตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม
- ตุรกี วันครูตรงกับวันที่ 24 พฤศจิกายน
ประเทศที่มี วันครู เป็นวันหยุด
- แอลเบเนีย วันครูตรงกับวันที่ 7 มีนาคม
- จีน วันครูตรงกับวันที่ 10 กันยายน
- สาธารณรัฐเช็ก วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- อิหร่าน วันครูตรงกับวันที่ 2 พฤษภาคม
- ละตินอเมริกา วันครูตรงกับวันที่ 11 กันยายน
- โปแลนด์ วันครูตรงกับวันที่ 14 ตุลาคม
- รัสเซีย วันครูตรงกับวันที่ 5 ตุลาคม
- สิงคโปร์ วันครูตรงกับวันที่ 1 กันยายน
- สโลวีเนีย วันครูตรงกับวันที่ 28 มีนาคม
- เกาหลีใต้ วันครูตรงกับวันที่ 15 พฤษภาคม
- ไต้หวัน วันครูตรงกับวันที่ 28 กันยายน
- ไทย วันครูตรงกับวันที่ 16 มกราคม
- สหรัฐอเมริกา วันอังคารในสัปดาห์แรกที่เต็ม 7 วันในเดือนพฤษภาคม
- เวียดนาม วันครูตรงกับวันที่ 20 พฤศจิกายน
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนและผู้ปกครองทั่วประเทศ จำนวน 2,259 คน (นร. 1,104 คน 48.87% ผู้ปกครอง 1,155 51.13% คน) ระหว่างวันที่ 8-14 มกราคม 2556 สรุปผลดังนี้
“ผู้ปกครอง” มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
- เมื่อถามถึง “จุดเด่น/ข้อดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
เป็นผู้ให้ความรู้ ให้การอบรมสั่งสอนที่ดีกับเด็ก /ช่วยดูแลเด็กแทนผู้ปกครอง 47.30%
มีทักษะความรู้มากขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการเรียนการสอน 28.91%
การแต่งกาย บุคลิกภาพดี /เป็นแบบอย่างที่ดี 23.79%
- เมื่อถามถึง “จุดด้อย/ข้อไม่ดี” ของ “ครู” ณ วันนี้
มีเวลาให้กับเด็กน้อย มีงานมาก /ทำให้สอนเด็กหรือดูแลเด็กได้ไม่เต็มที่ 54.24%
การควบคุมอารมณ์ เมื่อโมโหมักจะทำโทษเด็กโดยไม่ฟังเหตุผล 24.53%
ความรัก ความทุ่มเทในวิชาชีพของครูในปัจจุบันมีน้อยลง ไม่เหมือนครูสมัยก่อน 21.23%
- เมื่อถามว่า “ผู้ปกครอง” อยากได้ “ครู” แบบใด? มาสอนลูกหลานของท่าน
เก่ง มีความรู้ความสามารถ มีเทคนิคในการสอนที่ดี สอนเข้าใจง่าย 40.17%
มีเวลาให้กับเด็ก ให้ความรักดูแลเอาใจใส่และเข้าใจเด็ก /เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดี 31.02%
ใจดี มีกริยามารยาทสุภาพเรียบร้อย 28.81%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “ผู้ปกครอง” อยากบอกกับ “ครู” ณ วันนี้ คือ
ครูคือบุคคลสำคัญ เป็นแม่พิมพ์ของชาติ เป็นผู้ที่เสียสละ อดทน 57.51%
อยากให้มีจิตวิญญาณในความเป็นครู เป็นครูที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเด็ก 21.65%
อยากขอบคุณ คุณครูทุกท่านที่เสียสละ ดูแลให้ความรักและอบรมสั่งสอนเด็กๆ 20.84%
“นักเรียน” มอง “ครู” ณ วันนี้ เป็นอย่างไร?
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” “ประทับใจ” “ครู” มากที่สุด คือ
ครูใจดี พูดเพราะ ให้ความรักความห่วงใย 69.36%
ครูจะคอยสอนคอยเตือน ดูแลอบรมให้เป็นคนดี ให้คำปรึกษาแนะนำและช่วยเหลือ 20.47%
ได้ทำกิจกรรมร่วมกับครู เช่น เข้าค่าย แข่งกีฬา กีฬาสี ทัศนศึกษา ฯลฯ 10.17%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” “อยากลืม” สิ่งที่ “ครู” เคยทำกับเรามากที่สุด คือ
ถูกทำโทษ โดยการดุด่า ว่ากล่าว ตี /ให้การบ้านหรือให้งานมาทำเยอะๆ 70.08%
ไม่ยอมฟังเหตุผล ใช้แต่อารมณ์ ใช้คำพูดรุนแรง ฟังความข้างเดียว 18.55%
ไม่ยุติธรรมในการให้คะแนน/ให้เกรดวิชาเรียน 11.37%
- เมื่อถามว่า “นักเรียน” “ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?
ใจดี รักและเข้าใจเด็ก พูดคุยสนุกสนาน เป็นกันเอง 65.41%
เก่ง มีวิธีการสอนหรือเทคนิคในการสอนที่สนุก เข้าใจง่าย ไม่น่าเบื่อ 21.83%
มีบุคลิกภาพดี แต่งกายดี มารยาทดี 12.76%
- เมื่อถามว่า “นักเรียน” “ไม่ชอบครู” ที่มีลักษณะอย่างไร?
ดุ โมโหง่าย ใช้ไม้เรียวทำโทษ /มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ไม่สุภาพกับเด็ก 61.73%
ไม่มีเวลาให้กับเด็ก ขาดสอนบ่อย ไม่สนใจเด็ก ปล่อยปละละเลยเด็ก 19.94%
ไม่รับฟังความคิดเห็นของเด็ก ไม่ยุติธรรม 18.33%
- เมื่อถามถึง สิ่งที่ “นักเรียน” อยากฝากบอก “ครู” ณ วันนี้ คือ
อยากให้ครูเป็นครูที่ดี ใจดี /มีเวลา มีความทุ่มเทตั้งใจสอนเด็กอย่างเต็มที่ 56.94%
หนู /ผมจะเป็นเด็กดี ไม่ทำให้ครูผิดหวัง /รักครู ขอบคุณครูที่ให้การอบรมสั่งสอน 22.17%
อยากให้ครูเข้าใจเด็ก เข้าใจยุคสมัย สังคมที่เปลี่ยนไป ไม่ยึดติดกับความคิดแบบเดิมๆ 20.89%
ที่มา : MThai
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)